บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคหลอดเลือดสมองแตก : กรณีศึกษา โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • เรืออากาศเอกหญิง จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองแตก บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณี

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease หรือ stroke) เป็นกลุ่มอาการและอาการแสดงอันประกอบด้วยลักษณะของความบกพร่องทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันทีทันใด มีอาการและอาการแสดงนานกว่า 24 ชั่วโมง มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง  หรือมีอาการเลือดออกในสมองที่ไม่รวมสาเหตุอื่น ที่ทำให้หลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก ส่งผลต่อระบบประสาทเกิดอันตรายต่อชีวิตและหลงเหลือความพิการ สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบัน เน้นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการทุเลาลง มีความพิการน้อยที่สุดและป้องกันการเกิดซ้ำ จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งการจัดการผู้ป่วยรายกรณีถือเป็นหนึ่งในแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการประสานงานการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งในสถานบริการและชุมชน มีการวางแผนการออกแบบการดูแลให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะรายแบบองค์รวม ในทุกระยะของการเจ็บป่วย มีการจัดการเพื่อลดความแปรผันในกระบวนการรักษาผู้ป่วย มีการประสานให้เข้าถึงแหล่งทรัพยากร เกิดผลลัพธ์เชิงคุณภาพทั้งด้านคลินิกและค่าใช้จ่าย  และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิต กรณีศึกษาครั้งนี้นำเสนอบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคหลอดเลือดสมองแตกตามแนวคิดของโพเวลและทาฮาน (Powell & Tahan) 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562,
จากวิกิพีเดีย http://bps.moph.go.th.
เกรียงศักดิ์ ลิ้มพัสถาน.(2553). โรคหลอดเลือดสมอง : Cerovascular diseases . เชียงใหม่ : ภาควิชา
ศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เครือวัลย์ เปี่ยมบริบูรณ์ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ.(2557).การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด
เลือดสมอง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารกระทรวงสาธารณสุข ,
21(1), 4-21.
จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ รสริน วรรณจิรวิไล รุ่งนิภา จ่างทอง อุมากร มณีวงษ์และศมีนา สุวรรณประทีป.
(2562).การพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
แตก.รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
เรวดี ศิรินคร ยุวดี เกตสัมพันธ์ ผ่องพรรณ ธนาและ สุวิภา นิตยางกูร. (2544). CASE MANAGEMENT.
ในการประชุม 2 nd national forum on Hospital Accreditation. กรุงเทพมหานคร: J.S. การพิมพ์.
วันเพ็ญ พิชิตพรชัยและอุษาวดี อัศดรวิเศษ.(2545). การจัดการทางการพยาบาล : กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ =
Nursingcase management : strategies and applications / บรรณาธิการ วันเพ็ญ พิชิตพรชัย
และอุษาวดี อัศดรวิเศษ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป Clinical Nursing Practice Guidelines for Stroke.
กรุงเทพฯ : บริษัทธนาเพรสจำกัด.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2556).แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือด
สมองแตก สำหรับแพทย์. ในนพ.สวิง ปันจัยสีห์ ศ.นพ.นครชัย เผื่อนปฐม นพ.กุลพัฒน์ วีรสาร
(บรรณาธิการ), แนวทางการบำบัดโรคหลอดเลือดสมองแตก (น.3-21) กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรสจำกัด.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society).(2562). แนวทางการรักษาโรค
ความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2561). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2561. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศิริอร สินธุ และพิเชต วงรอด.(2557).การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง.
(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพ:โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์.
อุไร ดวงแก้วและอภิญญา จำปามูล.(2018). ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
สมองแตกต่อระยะวันนอนค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล และความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ.
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36(3), 42-50.
Case Management Society of America.(2016). Standards of practice for case management.
Little Rock, AR : CMSA .
Powell, S.K & Tahan,H.A. (2010). Case management : A practical guide for education and
practice. 3nd edition. Philadelphia : F.A Davis company.
Sutherland,D.,&Hayter,M.(2009).Structured review : Evaluating the effectiveness of nurse case
managers in improving health outcomes in three major chronic diseases. Journal of Clinical
Nursing.18(21), 2978-2992.
World Stroke Organization. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562, จากวิกิพีเดีย https://www.world-stroke.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30