การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ และมีภาวะแพ้อย่างรุนแรงหลังทำ GI study : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กิ่งดาว เพชรวัตร

บทคัดย่อ

             ภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ เป็นภาวะที่ส่วน Pylorus ของกระเพาะอาหารส่วนปลายหนาตัวขึ้น ทำให้มีการตีบแคบของส่วนทางออกแต่ไม่ถึงกับตัน มักมีอาการอาเจียน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ อาเจียนพุ่ง ลักษณะสีขาว มีกลิ่นเปรี้ยว ไม่มีน้ำดีปน กรณีศึกษาผู้ป่วยเป็นเด็กชายไทยอายุ 1 เดือนมาโรงพยาบาลด้วยอาการอาเจียนพุ่งลักษณะสีขาว ไม่มีน้ำดีปน มีการประเมินที่รวดเร็วเหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยได้รับการ consult  กุมารศัลยแพทย์  ทำการตรวจ  U/S , Upper GI study พบภาวะ Anaphylaxis จากการแพ้ Barium หลังทำ Upper GI study ได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดร่วมกับการรักษาที่รวดเร็ว จนผู้ป่วยปลอดภัยไม่พบภาวะ Anaphylacitc shock ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Infantile Hypertrophic Pyloric Stenosis (IHPS) และได้รับการผ่าตัด Pyloromyotomy ผู้ป่วยได้รับการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดในเรื่องการป้องกันแก้ไขภาวะพร่องสารน้ำ, สารอาหาร, ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ , การบรรเทาอาการท้องอืด/อาเจียน ,การป้องกันภาวะ Anaphylactic shock ร่วมกับการให้ข้อมูลกับญาติในเรื่องการปฏิบัติตัว ก่อนได้รับการผ่าตัดและได้รับยาสลบ  ส่วนของการพยาบาลหลังผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการบรรเทาอาการปวดแผล , การป้องกันภาวะขาดสารน้ำและเกลือแร่  การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น Hypovolemic shock , แผลติดเชื้อ, ทางเดินหายใจอุดกั้น/สำลัก, การให้ความรู้กับญาติในการดูแลหลังจำหน่ายกลับบ้าน หลังจากให้การพยาบาลตามกระบวน การพยาบาลพบว่าผู้ป่วยปลอดภัย แผลแห้งดี ไม่มีอาการปวดแผล ปราศจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด รวมวันนอนพักที่โรงพยาบาล 9 วัน และได้มีการติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่ายพบว่าผู้ป่วยอาการทุเลาลง รับประทานนมได้ดีขึ้นไม่มีอาเจียนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 กิโลกรัม ตอนอายุ  4 เดือน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการปกติ

               ผลการศึกษาผู้ป่วยรายนี้ทำให้นำมาพัฒนาความรู้พยาบาลวิชาชีพเรื่องการดูแลผู้ป่วย Infantile Hypertrophic Pyloric Stenosis, การพยาบาลผู้ป่วย Anaphylaxis และจัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเด็กก่อนและหลังผ่าตัด, การแปลผลทางห้องปฏิบัติการในเด็ก

References

คณะทำงานเพื่อการรักษาและป้องกันการแพ้ชนิดรุนแรงแห่งประเทศไทย.(2560).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ: คณะ
ทำงานเพื่อการรักษาและป้องกันการแพ้ชนิดรุนแรงแห่งประเทศไทย.
งามนิตย์ รัตนานุกุล, วรรณี ตปทียากร และคณะ.(2552). การวางแผนและบันทึกทางการพยาบาล.เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันบรมราชชนก.
เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์ และ จุฬาภรณ์ สมรูป.(2550). คู่มือการใช้ยา และการจัดการพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการพยาบาลสภากาชาดไทย.
ดุสิต สถาวร, เฉลิมไทย เอกศิลป์, รุจิภัตต์ สำราญสำรวจกิจ, กวีวรรณ ลิ้มประยูร และณัฐชัย อนันตสิทธิ์ (บรรณาธิการ).(2560).Pediatric Critical Care:Every day Practical.
กรุงเทพฯ: สมาคมโรคระบบหายใจและ เวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย.
พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์,วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์ และประสบศรี อึ้งถาวร.(2557). Guideline in child Health supervision. กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารแพทย์แห่ง
ประเทศไทย.
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา.(2555). การพยาบาลเด็กเล่ม 3. กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.
รุจา ภู่ไพบูลย์.(2556).การวางแผนการพยาบาลเด็กสุขภาพดี และเด็กป่วย.กรุงเทพฯ: โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัฒนา วัฒนาภา, สุพัตรา โล่สิริวัฒน์ และ สุพรพิมพ์ เจียสกุล.(2552).สรีรวิทยา2.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
สมพร ชินโนรส.(2557).การพยาบาลทางศัลยศาสตร์ เล่มที่ 1.พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รำไทยเพรส.
สุจินดา ริมศรีทอง ,สุดาพรรณ ธัญจิรา , อรุณศรี เตธชัสหงส์ และ สุภามาศ พาติประจักษ์.(2556).พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:โรงเรียน
พยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30