ความเที่ยงตรงของการวัดขนาดกระดูกจากภาพถ่ายรังสีโดยใช้สเกลมาตรวัดอ้างอิง เปรียบเทียบกับการวัดกระดูกจริงด้วยเวอร์เนีย คาลิปเปอร์ ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • คัชชรินทร์ โค้วสมจีน

คำสำคัญ:

ความเที่ยงตรง สเกลมาตรวัดอ้างอิง ข้อเท่าเทียม ข้อสะโพกเทียม ภาพถ่ายรังสีดิจิตอล

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำสู่การวิจัย (Routine to research ) เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของการวัดขนาดกระดูกจากภาพถ่ายรังสีดิจิตอลโดยใช้สเกลมาตรวัดอ้างอิงเปรียบเทียบกับการวัดกระดูกจริงด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์ระหว่างผ่าตัด และประเมินความคิดเห็นของศัลยแพทย์กระดูกต่อการใช้สเกลมาตรวัดอ้างอิงกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และข้อเข่าเทียม ที่ศัลยแพทย์กระดูกส่งถ่ายภาพรังสี โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 115 ราย การถ่ายภาพรังสีจากหน้าไปหลังร่วมกับการใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นกับส่วนที่เป็นแกนสเกลปรับเลื่อนระดับได้แนวดิ่งและแนวระนาบ และแกนเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 mm ยาว100 mm ผ่านการวัดความเที่ยงตรงด้วยอุปกรณ์เวอร์เนียไฮเกรท ใช้กับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ก่อนผ่าตัด 65 ราย (ขนาดข้อเข่าเทียมแตกต่างกัน 2-3 mm) ผลการวัดมีความแตกต่างมากกว่า 3 mm จำนวน 34 ราย ร้อยละ 52.31 แพทย์ตัดผิวกระดูกที่สึกหรอออกในข่วง 8-10 mm ขึ้นกับรอยโรคและความรุนแรงของโรค และเกิด osteophyte ส่งผลโดยตรงต่อตำแหน่งของการวัดกระดูก หลังผ่าตัด 32 ราย ผลการวัดแตกต่างมากกว่า 3 mm จำนวน 2 ราย ร้อยละ 6.25 การเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (ขนาดข้อเทียมแตกต่างกัน 1mm) ก่อนผ่าตัดจำนวน 12 ราย ผลการวัดไม่แตกต่างจำนวน 4 ราย ร้อยละ 33.33  แตกต่าง 1 mm 7 ราย, 2 mm 1 รายคิดเป็นร้อยละ 58.33, 8.34 ตามลำดับ หลังผ่าตัดจำนวน 6 รายผลการวัดไม่แตกต่างจำนวน 4 ราย ร้อยละ 66.67, แตกต่าง 1 mm  2 ราย จำนวน 1 ราย ร้อยละ 8.34 % ผู้ป่วยมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการกำหนด  หาตำแหน่ง  greater trochanter ผลการประเมินความคิดเห็นศัลยแพทย์กระดูก 4 ท่าน ด้านการปรับแก้ค่าการขยายของภาพ  ลดขั้นตอนในการทำงาน, ค่าใช้จ่าย ต่อภาพรวมการใช้สเกลมาตรวัดอ้างอิง พบว่าค่าเฉลี่ยใน 4 ประเด็นอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00-4.25) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่าค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(4.125±0.658)  การใช้ประโยชน์ภาพรังสีดิจิตอลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปร่วมกับใช้อุปกรณ์สเกลมาตรวัดอ้างอิงในวัดกระดูก มีต้นทุนเพียง 1,200 บาท มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เป็นวิธีที่ง่าย โดยสเกลมาตรวัดอ้างอิงปรับแก้ค่าอัตราขยายของภาพผ่านการ calibrate นำไปวัดกระดูกได้ค่าเสมือนจริง รายละเอียดหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร ทุกขั้นตอนลงในรายละเอียด สเกลอ้างอิงมีความเที่ยงตรง   ตำแหน่งวางสเกลระดับเดียวกับกระดูกที่ต้องการวัด การกำหนดจุดวัดจากภาพรังสีได้ถูกต้อง

References

จุฑาสินี พรพุทธศรี.งานวัดและตรวจสอบ.สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561,จากวิกิพีเดีย http://pws.npru.ac.th/Jutasinee/data/files.9A.pdf.
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี.(2560).ฐานข้อมูลงานสารสนเทศโปรแกรม HosXP.
วรากร จริงจิตร. การผ่าตัดข้อสะโพกเทีย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561, จากวิกิพีเดีย http://warakornclinic.com/content/30.pdf.
วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท.โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ.สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560, จากวิกิพีเดีย https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/
files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf.
Kenneth L. B & Barry T. A. (1987). Textbook of radiographic positioning and retated anatomy. Ed.2,st.Louis, C.V. Mosby,.
Stewart C. B. (2004). Geometric Factors .Radiologic Science for Technologist.;279-280.
Surface landmark. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 256, จากวิกิพีเดีย
http://downloads.lww.com/wolterskluwer_vitalstream_com/sample- content/9781582558011_Moorcroft/samples/Chapter_05.pdf.279-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31