ความชุกของแบคทีเรียก่อโรคและกลุ่มโคลิฟอร์ม กรณีสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • กิตติมา ไมตรีประดับศรี มลวดี ศรีหะทัย และ กัลยาณี อุดง,

คำสำคัญ:

แบคทีเรียก่อโรค โรคอาหารเป็นพิษ สอบสวนโรค

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective  Study)โดยศึกษาความชุกของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มในตัวอย่างกลุ่มอาหารและน้ำ ในกรณีสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษของจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 6 (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และตราด) การตรวจวิเคราะห์เชื้อVibrio cholerae, Staphylococcus aureus Vibrio parahaemolyticus, Bacillus cereus, Clostridium perfringens, Salmonella spp.และแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ใช้วิธี conventional method ตามวิธีมาตรฐานสากล ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างมกราคม  2557– พฤศจิกายน 2562 จำนวน 228 ตัวอย่างเทียบกับเกณฑ์กำหนดคุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฉบับที่ 3 กับประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 364(พ.ศ. 2556) เรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ฉบับที่ 350 (พ.ศ. 2556) เรื่องนมโค ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และฉบับที่ 78 (พ.ศ.2527) เรื่องน้ำแข็ง พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เก็บมาจากพื้นที่ของจังหวัดชลบุรีร้อยละ62.0 สถานที่เก็บตัวอย่างเป็นประเภทร้านจำหน่าย/ร้านขายของร้อยละ 40.0  เหตุการณ์สอบสวนโรคมีความถี่มากสุด 6 ครั้งในเดือนมิถุนายน มีตัวอย่างทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 35.5 เมื่อแยกตามกลุ่มตัวอย่างพบว่าตัวอย่างกลุ่มอาหารและกลุ่มน้ำกับ น้ำแข็ง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 43.7 และ 28.8 ตามลำดับ กลุ่มน้ำกับน้ำแข็งปนเปื้อนโคลิฟอร์มเกินมาตรฐานสูงสุดถึงร้อยละ 45.7 พบเชื้อก่อโรค Salmonella spp. และ S. aureus ร้อยละ 6.9 และ 5.0 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มอาหารพบไม่ผ่านตามมาตรฐานดังนี้ E. coli   ร้อยละ 45.8  B. cereus, V. parahaemolyticus, C.  perfringens, Salmonella spp.และ S. aureus ร้อยละ 41.2, 28.6, 26.7, 20.0 และ 19.0 ตามลำดับ  ทั้งกลุ่มอาหารกลุ่มน้ำ กับน้ำแข็ง พบปัญหาส่วนใหญ่จากโคลิฟอร์มและ E. coli  ซึ่งอาจเกิดจากสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดี  อาหารดิบ เช่นอาหารทะเลสด ยังคงเป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะทำให้เป็นโรคทางเดินอาหารได้ หากรับประทานแบบสุกๆดิบๆ เนื่องจากพบเชื้อก่อโรคปนเปื้อนหลายชนิด ส่วนอาหารปรุงสุกที่ตรวจพบเชื้อก่อโรค อาจปนเปื้อนภายหลังจากการปรุงสุกแล้ว ผู้ปรุงประกอบอาหารจึงควรให้ความสำคัญเรื่องสุขลักษณะ  ผู้บริโภคควรบริโภคอาหารที่ปรุงประกอบใหม่ ทิ้งไว้นานไม่เกิน 2 ชั่วโมง  กรณีนมโรงเรียนพาสเจอร์ไรซ์นอกจากผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GMP แล้ว ผู้จำหน่ายควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสตลอดเวลา

References

กมลวรรณ กันแต่ง, อัจฉรา อยู่คง, และรัชฎาพร สุวรรณรัตน์. (2558). ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาของอาหารพร้อมบริโภคที่จำหน่าย ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 57 (3) , 269-278.
กรมควบคุมโรค. กองนวัตกรรมและวิจัย. (2562). แผนงานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2562 -2564. นนทบุรี.
กรมควบคุมโรค. กองโรคติดต่อทั่วไป. (2542). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา. (2556). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี2556. นนทบุรี.
กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา. (2557). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี2557. นนทบุรี.
กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา. (2559). สรุปแนวทางการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ ปี พ.ศ. 2559. นนทบุรี.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.(2560). ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ ๓. นนทบุรี.
กรมอนามัย.สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำหรับสาธารณสุขอำเภอ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ์, จรัลศรี นามแก้ว, และภัควลัชณ์ จันทรา.(2556).สถานการณ์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภค:กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 154-158.
พลับพลึง เทพวิทักษ์กิจ, เสาวนิต บุญพัฒนศักดิ์, อโนทัย ศรีตนไชย, และมุทิตา น้อยอ้าย.(2555).ความชุกของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในอาหารที่มีความสำคัญกับการก่อโรคในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 54(3-4), 166-173.
ยุทธนา ชัยศักดานุกูล, นิดารัตน์ ไพรคณะฮก , และอุบลวรรณ จตุรพาหุ. การเฝ้าระวังโรค Salmonellosis ในสินค้าปศุสัตว์ 2555.สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556, จากวิกิพีเดีย https://www.dld.go.th/dcontrol/th.
สารปนเปื้อนในอาหาร ความเสี่ยงและวิธี
หลีกเลี่ยง อันตราย. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์
2556, จากวิกิพีเดีย https://www.pobpad.com.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. รายงานประจำปีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556, จากวิกิพีเดีย http://nih.dmsc.moph.go.th/login/alls.php?topic=15.
สุทธิทัศน ทองคำใส, กนกวรรณ สิงหอาษา, ธาริณีทับทิม, กุลชัย นาคบุปผา, เตือนตา ชาญศิลปะ, และสิริกัญญ กาหยี. (2558). ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 32.5o C ต่อปริมาณเชื้อบาซิลัส ซีเรียส ในนมยู
เอชทีสำหรับโรงเรียน ในจังหวัดชลบุรี.
เชียงใหม่สัตวแพทยสาร, 13(1), 1- 6.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562, จากวิกิพีเดีย https://www.thaihealth.or.th/Content/49566.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สำนักอาหาร.(2562). พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ 2522 กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับใช้. 2562.

เสาวลักษณ์ รักษ์ยศ , และสุภาทินี โสบุญ. ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 25 เรื่อง การปนเปื้อนเชื้อ Vibrio cholerae และ Vibrio parahaemolyticus ในหอยสองฝา. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560, จากวิกิพีเดีย http://e-library.dmsc.moph.go.th/view.asp?id=483.
ศิริพร จันทน์โรจน์, และคณะ.(2552). การตรวจหาเชื้อ Vibrio cholera จากผู้ป่วยผู้สัมผัสน้ำ และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในเขตอำเภอพบพระ จังหวัดตาก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 51(3-4), 187-203.
APHA-AWWA-WEF. (2012). Standard Methods for
the Examination of Water and Wastewater.
(22nd ed.). Washington DC : APHA.
APHA-AWWA-WEF. (2017). Standard Methods for
the Examination of Water and Wastewater.
(23rd ed.). Washington DC : APHA.
Wolf Hall, C., & Nganje, W. (2017). Microbial Food
Safety A Food Systems Approach. Croydon :
CPI GROUP(UK) Ltd.
Food and Drug Administration. (2002). Bacteriological
Analytical Manual (BAM online). Retrieved
from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bacteriological-analytical-manual-bam
Hungaro, HM., Pena, WEL., Silva, NBM. , Carvalho,
RV., Alvarenga, VO., & Sant’Ana AS. (2019).
Food Microbiology. Retrieved from:
https//www.Researchgate.net/publication/
288208448_Food_Microbiology.
INTERNATION STANDARD. (2010). ISO19250 : 2010(E). Water quality–detection of Salmonella spp.Geneva : ISO copyright office.
INTERNATION STANDARD. (2007). ISO/TS 21872-1: 2007 /Cor.1:2008. Microbiology of food and animal feeding stuffs–Horizontal method for the detection of potentially enteropathogenic Vibrio
spp.- part1 : Detection of Vibrio parahaemolyticus and Vibrio cholerae 1 st. Geneva : ISO copyright office.
INTERNATION STANDARD. (2017). ISO/TS 21872-1: 2017 /Cor.1:2008. Microbiology of food chain- Horizontal method for the determination of Vibrio spp.- part1 : Detection of potentially
enteropathogenic Vibrio parahaemolyticus, Vibrio cholerae and Vibrio vulnificus. Geneva : ISO copyright office.
INTERNATION STANDARD. (2004). ISO 6579:2002/Cor.1:2004(E). Microbiology of Food and Animal Feeding Stuffs- Horizontal Method for the Detection of Salmonella spp. Geneva : ISO copyright office.
INTERNATION STANDARD. (2017). ISO 6579-1: 2017(E). Microbiology of the Food chain- Horizontal Method for the detection, enumeration and serotyping of Salmonella-Part-1:Detection. Geneva : ISO copyright office.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31