ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตำบลสนามชัย จ.สุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา จันทร์สุวรรณ สุนทรี ขะชาตย์ ปวิดา โพธิ์ทอง และ เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง สุขภาพจิต ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

                การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตำบลสนามชัย จ.สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน  330  ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชื่อมั่น 0.84 ถึง 0.94 ,0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

                ผลการวิจัยพบว่า แหล่งที่มาของรายได้ และการพักอาศัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01 ; r =.219 และ r =.142 ตามลำดับ)  แหล่งที่มาของรายได้ การพักอาศัย ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 10.4 % (R2 = 0.104, p <.01)

References

ขวัญสุดา บุญทศ และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2560). ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง
ประเทศไทย, 62(3), 257-270.
จิตสมร วุฒิพงษ์. (2543). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล
ศึกษา, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เทวินทร์ วารีศรีและปวริศา วารีศรี. (2558). เอกสารการบรรยายชุดสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ.นครราชสีมา.
เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง
ประเทศไทย, 56(2), 103-116.
ธนา นิลชัยโกวิทย์ จักรกฤษIณ์ สุขยิ่งและชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสาร
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 2 – 17.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2561). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ.
สิริสุดา เตชะวิเศษ ทักษิกา ชัชวรัตน์ และฐิติพร เรือนกุล. (2561). ปัจจัยทำนายสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสาร
การพยาบาล การ สาธารณสุขและการศึกษา, 19 (3), 84-95.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการทำงานของผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ :พิมพ์ครั้งที่ 2. สหพัฒนไพศาล.
อทิยา ใจเตี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารสวนปรุง, 31(1), 38-48.
Patel V, Prince M (2001). Ageing and mental health in developing countries: who cares. Qualitative studies from Goa, India. Psychological Medicine,
31, 29-38.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp.
607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31