ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุและแนวทางพัฒนางานพัสดุของผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐชัย แก้วเจริญสีทอง

คำสำคัญ:

สภาพบริหารงานพัสดุ ปัญหาการบริหารงานพัสดุ แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุ หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ และแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานพัสดุที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี  ทั้งหมด  174 แห่ง จำนวน 174 คน เลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                 ผลการวิจัยพบว่า   ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาพการบริหารพัสดุที่จัดทำอยู่ในระดับมาก(M =4.03, SD = 0.47) ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการจัดหาพัสดุได้แก่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจรับพัสดุถูกต้องตามระเบียบ (M=4.46, SD=0.66) ด้านการควบคุมพัสดุได้แก่ มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินงานตรวจสอบพัสดุประจำปี (M =4.32, SD=0.68)  และด้านการจำหน่ายพัสดุ ได้แก่ การให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุให้ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ(M =4.21, SD=0.73) ค่าเฉลี่ยคะแนนปัญหาการบริหารงานพัสดุที่จัดทำอยู่ในระดับปานกลาง (M =2.51, SD=0.74)  ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการจัดหาพัสดุ ได้แก่ การมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานจัดชื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุปี 2560 (M =2.73, SD=0.88) ด้านการควบคุมพัสดุ ได้แก่ การมีแผนและระยะเวลาการซ่อมบำรุงพร้อมใช้ตลอดเวลา (กรณีครุภัณฑ์ชำรุด) (M =2.72, SD=0.89) และด้านการจำหน่ายพัสดุได้แก่ หน่วยงานจัดหาสถานที่เก็บพัสดุที่รอจำหน่าย (M=2.63, SD=0.95)  และค่าเฉลี่ยคะแนนความต้องการการบริหารงานพัสดุด้านการจัดหาพัสดุที่จัดทำอยู่ในระดับมาก (M =3.69, SD=0.81) ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีการสำรวจความต้องการใช้พัสดุประจำปีโดยมีข้อมูลการใช้พัสดุครบถ้วน เพียงพอและชัดเจน (M =3.84, SD=0.79) ด้านการควบคุมพัสดุ ได้แก่ มีการจัดทำสมุดทะเบียนคุมวัสดุ ครุภัณฑ์ (M=3.71, SD=0.98) และด้านการจำหน่ายพัสดุ ได้แก่ การรับทราบปัญหาการจำหน่ายพัสดุจากการนิเทศตรวจสอบภายในและนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องได้ตามระยะเวลากำหนด (M =3.71, SD=0.99) และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า มีการสำรวจพัสดุที่จำเป็นต้องใช้ใน รพ.สต. มาทำแผนพัสดุประจำปี และดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการบริหารงานพัสดุของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้การบริหารงานพัสดุมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาต่อผู้ปฏิบัติงานพัสดุในหน่วยบริการปฐมภูมิ อาทิเช่น ผู้ปฏิบัติงานพัสดุในหน่วยบริการปฐมภูมิมีการปฏิบัติตามแนวทางด้านการบริหารพัสดุ ตามกระบวนงานทางพัสดุครบถ้วน มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน มีการบันทึกบัญชี หลักฐานและรายงานถูกต้อง ดังนั้น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจง ฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ ปี 2560 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความถูกต้องในการดำเนินการพัสดุจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและควรจัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

References

เกศสุดา แย้มแสง. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 6(1),
61-73.
กัญสพัฒน์ นับถือตรงและนันตพร ศรีวิไล. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. เอกสารประกอบการประชุม
วิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0" (Creative RMUT and Sustainable Innovation for
Thailand 4.0), 105-115.
กิตติพล โยงทองหลาง. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานพัสดุโรงเรียนราชวินิตบางเขน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. รายงานการวิจัย.
การบริหารการศึกษากรุงเทพมหานคร (หัวหมาก) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กรกช อ่อนน่วมและฌาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร-ปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6 (2), 222-233.
ชยพล คุปติชญานนท์. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. วารสารวิชาการ กรม
สนับสนุนบริการสุขภาพ. 13 (2), 13-27.
ณัฐดานันท์ ยอดเมืองชัย. (2563). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. PULINET Journal. 4 (1), 15-26.
ถนอมสิน ถาวร. (2554). ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2561). การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ : หลักการ เหตุผล และวิธีการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปิยวรรณ มากกลายและภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชรเขต 2.
เอกสารประกอบรายงานสืบเนื่องจาการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 1, 136-148.
พนิดา พงษ์ประเสริฐ. (2553). การศึกษาปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).
เยาวรักษ์ ฉัตรวิไล. (2561). ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร.วารสารบัณฑิตศึกษา. 15 (71), 46-56.
รัตติยา บุญเปล่ง. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในเครือข่ายการจัดการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทาลัยรามคำแหง).
วสันต์ สุทธาวาศ (2560). พัสดุภาครัฐ 2560 : พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 กฎกระทรวง และระเบียบที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย
(น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย).
สุทธีรา นัยติ๊บ และสมชาย บุญศิริเภสัช. (2558). การศึกษาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดแพร่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองาน
วิจัยระดับนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15,1,563-1,572.
สุริยัน นิลทะราช และสมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุ เพื่อการควบคุมวัสดุมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17
(76), 191-201.
สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2561). กฎหมายพัสดุ : พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บัณฑิตอักษร.
สุวัช มูลเมืองแสน. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
สุภารัตน์ อ่ำชุ่ม. (2559). ปัญหาการบริหารงานพัสดุของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.(วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยา
ลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลพระนคร).
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2560) . เอกสารสรุปผลการตรวจสอบภายในประจำปี 2560. (เอกสารอัดสำเนา)
(2561) . เอกสารสรุปผลการตรวจสอบภายในประจำปี 2561. (เอกสารอัดสำเนา)
(2562) . เอกสารสรุปผลการตรวจสอบภายในประจำปี 2562. (เอกสารอัดสำเนา)
Best, John W. (1977). Research in Education. (3 rd edition). New Jersey: Prentice Hall.
Deming, Edward W. (1995). Out of The Crisis. USA : The Massachusetts Institue of Technology Center for Advance Engineering Study.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31