แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ในกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ใน ตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์

คำสำคัญ:

เมตาบอกลิกซินโดรม แบบแผนการดำเนินชีวิต ภาวะอ้วน จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic study) แบบมีกลุ่มควบคุม (Population-based case control study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนการดำเนินชีวิตกับภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกลุ่มประชากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมกับกลุ่มที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยศึกษาจากประชากรที่ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีภาวะดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ จำนวนทั้งสิ้น 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม 80 คน และกลุ่มที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม 80 คน  เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถามแบบแผนการดำเนินชีวิต ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดัดแปลงจากคู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ 2558 ของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แบบสอบถามแบบแผนการดำเนินชีวิตมีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) = 0.82 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Alpha Cronbach’s Coefficient) = 0.79

              ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างทั้งที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและไม่มีภาวะเมตาบอลิกซิน-โดรม  เป็นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมีภาวะอ้วน คิดเป็นร้อยละ 36.88 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมีภาวะอ้วนเพียงร้อยละ 18.12 แบบแผนการดำเนินชีวิตด้านการบริโภคอาหาร  และด้านการออกแรงเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านอื่นได้แก่ ด้านสุขภาพจิต ด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และด้านการสูบบุหรี่ ไม่มีความแตกต่างกัน  จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี ควรวางแผนป้องกันการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของประชาชนในความรับผิดชอบ และพัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในชุมชนนี้เพื่อป้องกันการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ด้วยการปรับแบบแผนการดำเนินชีวิตให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการรับประทานอาหาร และการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560.
กลุ่มพัฒนาวิชาการและเครือข่ายลดโรคไม่ติดต่อในวิถีชีวิต.(2555). KMNCD สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ฉบับที่ 4 กันยายน – ตุลาคม, 14-15.
ชยาภัสร์ รัตนหิรัญศักดิ์ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน
แห่งหนึ่ง. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 4(2), 64-74.
ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2549). Metabolic Syndrome (โรคอ้วนลงพุง). สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์, 23(1), 5 - 17.
ณิชารีย์ ใจคําวัง. (2558). พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย.
วารสารการพัฒนา ชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(2), 173 – 184.
ธนพันธ์ สุขสะอาดและคณะ. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 Kick off to the goals / สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศนนทบุรี.
เนติมา คูนีย์ และคณะ. (2557). การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ปฏิพันธ์ เสริมศักดิ์. (2558). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงานโรงงานที่เข้ากะในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร
พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 157 – 165.
มยุรี หอมสนิท. (2559). รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560 จากวิกิพีเดีย http://www.thaihealth.or.th.
วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.สืบค้นเมื่อ
1 มีนาคม 2560 จากวิกิพีเดีย https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/7711
ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. (2559). รายงานประจำปี 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
สายศิริ ด่านวัฒนะ. (2552).รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ เรื่อง การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560
จากวิกิพีเดีย http://www.kb. hsri.or.th.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณหยุดมันได้เอง. สืบค้นเมื่อ10 มีนาคม 2560 จากวิกิพีเดีย http://www.thaihealth.or.th.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2558. 13(1) สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560 จากวิกิพีเดีย
http://www.social. nesdb.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2558). สุขภาพคนไทย 2558: 11 ตัวชี้วัด โรคอ้วน. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2560 จากวิกิพีเดีย
http://www.suchons.wordpress.com.
แหลมทอง แก้วตระกูลพงษ์. (2551). อัตราความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรม: ข้อมูลประชาชนที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี ที่โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย.
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 1 – 10.
อมรา ทองหงส์ และคณะ. (2556). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ.2555. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อัจฉรา ภักดีพินิจ และคณะ. (2559). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2559 สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561 จากวิกิพีเดีย
http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease.
Al-Qawasmeh, R.H. & Tayyem, R.F. (2018). Dietary and Lifestyle Risk Factors and Metabolic Syndrome: Literature Review. Food and nutrition
journal, 6(3); 594-608. Retrieved on April 23, 2019 from Doi: doi.org/10.12944/CRNFSJ.6.3.03.
Bhanushali, C., Kumar, K., Wutoh, A.K., Karavatas, S., Habib, M.J. Daniel, M. & Lee, E. (2013).“Association between Lifestyle Factors and
Metabolic Syndrome among African Americans in the United States”. Journal of Nutrition and Metabolism. from
http://www.dx.doi.org/10.1155/2013/516475. Retrieved on April 23, 2019 .Faul, F., et al. (2007).
G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research
Methods. 39, 175-191 Retrieved April 10, 2017 from http://www.gpower.hhu.de.
Garralda-Del-Villar, M. et al. (2019). Healthy Lifestyle and Incidence of Metabolic Syndrome in the SUN Cohort. Nutrients. 11, 65; Retrieved on April 23,
2019 from http://www.mdpi.com/journal/nutrients, doi:10.3390/nu11010065.
Perez-Martinez, P. et al. (2017). Lifestyle recommendations for the prevention and management of metabolic syndrome: an international panel
recommendation. Nutrition Review, 75(5); 307-326. Retrieved on April 23, 2019 from doi: 10.1093/nutrit/nux014.
Sekgala, M.D. et al. (2018). The risk of metabolic syndrome as a result of lifestyle among Ellisras rural young adults. Journal of Human Hypertension.
32; 572–584 Retrieved on April 23, 2019 from https://doi.org/10.1038/s41371-018-0076-8.
Verma, P., Srivastava, R.K. and Jain, D. (2018). Association of Lifestyle Risk Factors with Metabolic Syndrome Components: A Cross-sectional Study in
Eastern India.International Journal of Preventive Medicine. 9(6); 1-8. Retrieved on April 23, 2019 from DOI: 10.4103/ijpvm.IJPVM_236_17.
World health Organization. (2017). Noncommunicable diseases. Retrieved April 14, 2017 from http:/www.who.int/mediacentre/
factsheets/fs355/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31