ผลของไซโคนิวโรบิคส์ ในการลดอาการปวดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กรพินทุ์ ปานวิเชียร

คำสำคัญ:

ไซโคนิวโรบิคส์, ลดอาการปวด, ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

บทคัดย่อ

             การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไซโคนิวโรบิคส์ในการลดอาการปวดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการปวดเฉียบพลันขณะมารับบริการ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือแนวปฏิบัติประยุกต์ตามรูปแบบสมาธิรักษาโรควิธีไซโคนิวโรบิคส์ (Psycho Neurobics: PN) ในการลดอาการปวด แบบทดสอบสภาวะจิตใจ แบบสอบถาม และแบบประเมินความปวด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่าความเชื่อมั่น IOC เท่ากับ 0.91 และ 0.92 ตามลำดับ ใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ paired t-test ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระดับความปวดก่อนและหลังทดลอง

            ผลการวิจัยพบว่าการใช้สมาธิรักษาโรควิธีไซโคนิวโรบิคส์ มีผลทำให้ระดับความปวดก่อนและหลังทดลองทันที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<0.001), หลังทดลองทันทีและหลังทดลอง 1 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.002) ก่อนและหลังทดลอง 1 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<0.001) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความปวดระหว่างหลังทดลองทันทีและหลังทดลอง 1 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p= 0.002) โดยพบว่าระดับความปวดก่อนทดลองมีคะแนนความปวดเฉลี่ย 7.55 คะแนน มีระดับปวดรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 85.0 หลังทดลองทันที มีคะแนนความปวดเฉลี่ย 4.15 คะแนน มีระดับปวดมาก ร้อยละ 85.0 รองลงมา ระดับปวดปานกลาง ร้อยละ 10.0 และไม่ปวด ร้อยละ 5.0 ตามลำดับ หลังทดลอง 1 วัน มีคะแนนความปวดเฉลี่ย 2.75 คะแนน ระดับปวดปานกลาง ร้อยละ 50.0 รองลงมา ระดับปวดมาก ร้อยละ 40.0 และไม่ปวด ร้อยละ 10.0 

              จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ไซโคนิวโรบิคส์ มีผลทำให้ระดับความปวดเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลดลง ลดการใช้ยาแก้ปวด เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยประหยัดคุ้มค่า และมีประสิทธิผล

References

ดำรงพันธ์ วัฒนะโชติ. (2556). โยคะสมาธิรักษาโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเวลล์ สปีเชียล.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. (2560). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ : 496-507.
ปารวี สุวรรณาลัย. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. (2561). เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2561. [ม.ป.ท.]. 12 หน้า. เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th
รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์. (2560). แพทย์ทางเลือก (เล่าสู่กันฟัง) "ศาสตร์เพื่อชีวิต".บันทึกการเรียนรู้จากชมรมบ้านสุขภาพมูลนิธิภูมิปัญญาสากล และเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ชมรมบ้านสุขภาพ และเครือข่าย.
ศิริญญา ชุ่มเต็ม, ชนกพร จิตปัญญา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดข้อ ความเหนื่อยล้าคุณภาพการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. วารสารเกื้อการุณย์ 22(1): 113-128.
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. (2559). การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. [ม.ป.ท.] เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.thairheumatology.org
อิทธิกร วัฒนะ. (2557). มิติใหม่ในการเพิ่มสมรรถนะและพัฒนาความจำผู้บริหารและบุคลากร. สถาบันส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งประเทศไทย. [ม.ป.ท.]. เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2560. เข้าถึงได้จากhttp://home.dsd.go.th
Shekhar C. (ผู้แปล ขนิษฐา แดนศิลป์). (2558). หมอในกายในจิต : 7 วัน แห่งการค้นพบหมอภายในตัวเรา = Invisibledoctor : 7 days to meet the doctor within. กรุงเทพฯ: ภารตะ.
Tiwari PD, Shekhar C. (2018). Study on the Level of Healing Techniques in Psychonurobics. Med. Res. Chron. 5 (6): 490-492.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30