พฤติกรรมการใช้น้ำและคุณภาพน้ำบริโภคของประชาชนในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์

ผู้แต่ง

  • นริศรา ศรีโพธิ์
  • มัตติกา ใจจันทร์
  • พันธุ์ศักดิ์ บัวลอย
  • ประภา ยุทธไตร

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ในลักษณะของการศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำบริโภคและพฤติกรรมการใช้น้ำบริโภคของประชาชนในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ดำเนินการวิจัย 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำโดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำบริโภค จำนวน 3 แห่ง คือ น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำประปาภูเขา และน้ำบ่อตื้น ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำด้วยวิธีการทางกายภาพ เคมีและทางจุลชีววิทยา การศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำบริโภคของประชาชนด้วยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและพฤติกรรมการใช้น้ำบริโภคของประชาชนในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำจากทั้ง 3 แห่ง มีการเจือปนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (coliform bacteria) และฟีคัลโคลิฟอร์มฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (fecal coliform bacteria) เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม (>1.1เอ็มพีเอ็น/100 มล.)

        ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.70) อายุเฉลี่ย 50 ปี (SD =15.52) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 60) และประกอบอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ  53.70) สำหรับพฤติกรรมการใช้น้ำในการบริโภคเกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างใช้แหล่งน้ำดื่มมาจากน้ำประปาภูเขา (ร้อยละ 98.80) รองลงมาคือบ่อน้ำตื้น (ร้อยละ 25.50) ก่อนนำมาดื่มไม่มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ (ร้อยละ 72.50) และส่วนใหญ่มีการเลี้ยงสัตว์รอบๆ บริเวณรองรับน้ำในระยะ 10 เมตร ซึ่งผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการน้ำบริโภคในชุมชน และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อของประชาชน

References

กิตติมา ไมตรีประดับศรี, มลวดี ศรีหะทัย และ กัลยาณี อุดง. (2563). ความชุกของแบคทีเรียก่อโรคและกลุ่มโคลิฟอร์ม กรณีสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 3(2), 27-41.

จิรณัฐ ชัยชนะ และกัญญดา ประจุศิลปะ. (2561). การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล.วารสารพยาบาลทหารบก,19 (ฉบับพิเศษ), 193-202.

บุญนำ เกิดแก้ว. 'ห้วยต้า' หมู่บ้านที่ถูกลืม ไม่มีถนน ขาดไฟฟ้า ชงครม. ช่วย. (16 ธันวาคม 2560). หนังสือพิมพ์โพสท์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563. จากวิกิพีเดีย https://www.posttoday.com/social/local/

พรรณี ปานเทวัญ. (2562). บทบาทพยาบาลและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 33-43.

ยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2557). ประชากรยากจน 768 ล้านคน ยังขาดน้ำสะอาด . สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560. จากวิกิพีเดีย https://www. unicef.org/thailand/tha/media.

สุภัทรา ผาคำ, วนิดา วิลาชัย, กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ และศิริกุล ธรรมจิตรสกุล. (2558). การศึกษาโรคที่มีน้ำ
เป็นสื่อจำแนกตามพฤติกรรมการใช้น้ำของประชาชนในชุมชน หมู่ที่ 7 ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 17-23.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (2561–2580).
กรุงเทพ: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2563). คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563. จากวิกิพีเดีย http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่ม. (2556). คู่มือประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Daniel WW. (2013). BIOSTATISTICS: A Foundation for Analysis in The Health Sciences. 10th ed. Las
Vegas: Edwards Brothers Molloy.

Kombo, M.G., Escuder, B.I., & Chordà R.E. (2021). Review on Emerging Waterborne Pathogens in Africa: The Case of Cryptosporidium. Water, 13(21), 1-17.

Manetu, W.M., Karanja, A.M. (2021). Waterborne Disease Risk Factors and Intervention Practices: A
Review. Open Access Library Journal. 8(5): 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27