การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พรพจน์ บุญญสิทธิ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

       การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวัดผลในการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ได้พัฒนาขึ้น ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 6 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาโดยการศึกษาความรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (R1) ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (D1) ระยะที่ 3 ทดลองโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (research: R2) ระยะที่ 4 ปรับปรุงโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (development: D2)  ระยะที่ 5 ทดลองใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (research: R3) และระยะที่ 6 ประเมินโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับโปรแกรม (development: D3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุ แนวทางคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)

       ผลการวิจัยพบว่าได้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้น และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการให้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งนี้เนื่องจากในโปรแกรมมีการให้ความสำคัญทั้งผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแลที่มีบทบาทในการกระตุ้นเตือนผู้สูงอายุในการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การดูแลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2564, จากวิกิพีเดีย https://www.dop.go.th/th.

กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด . สืบค้นเมื่อ สืบค้น 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2564, จากวิกิพีเดีย https://www.dmh.go.th.

ฉัตรลดา ดีพร้อม และนิวัฒน์ วงศ์ใหญ่ (2019). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรค
ความดันโลหิตสูง ตำบลชุมพร อำเภอ เมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. J Sci Technol MSU, 38(4), 451-461

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 16
กรกฏาคม พ.ศ. 2564, จากวิกิพีเดีย https://www.dop.go.th/download/knowledge/th.

วิจารณ์ พานิช. (2546). การจัดการความรู้ในยุคสังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

สุภัสสรา พิชญพงษ์โสภณ และจุฬาภรณ์ โสต๊ะ. (2561). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Heath, Gregory & Liguori, Gary. (2015). Physical Activity and Health Promotion. International
Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. (2006). Health promotion in nursing practice. 5th ed.
New Jersey: Pearson Education.

Siripitayakunkit, A., Hanucharurnkul, S., D’ Eramo Melkus, G., Vorapongsathorn, T., Rattarasarn, C., & Arpanuntikul, M. (2008). Factors contributing to integrating lifestyle in Thai women with type 2 diabetes. Thai Journal of Nursing Research, 12, 166-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27