การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • รุ่งนิภา จ่างทอง

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง การพยาบาล กลืนลำบาก

บทคัดย่อ

          ภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดการสำลักอาจนำไปสู่การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก ส่งผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ  การปฏิบัติทางการพยาบาล ของการประเมินการกลืนและฝึกกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการทางระบบประสาทเกี่ยวกับการทรงตัว การพูด การควบคุมลิ้น ต่างกัน ทำให้ความสามารถในการกลืนต่างกันที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช   โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม  พ.ศ. 2564  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 2 รายดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่แรกรับจากผู้ป่วย ญาติพยาบาล ทีมสหวิชาชีพ  และแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย  โดยใช้กรอบแนวคิด แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

            ผลการศึกษา  ผู้ป่วยกรณีศึกษา 2  ราย เพศชาย เป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก  มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และมีภาวะกลืนลำบาก ในรายที่ 1 ผู้ป่วย อายุ 36 ปี  E2V2M5  แขน-ขาขวา weak เกรด  0  ความดันโลหิตสูง ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดกะโหลกศีรษะ หลังผ่าตัดใช้เครี่องช่วยหายใจ สามารถ Off Endotracheal  tube หลังผ่าตัด Day 3    ประเมินการกลืน หลังผ่าตัด Day 4 ไม่พร้อมฝึกกลืน มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองและชักเกร็งซ้ำ  เสี่ยงปอดอักเสบจากภาวะกลืนสำลัก นอนโรงพยาบาล 22 วัน  ผู้ป่วยรายที่ 2  ผู้ป่วยอายุ 57 ปี   E4V1M5 แขน-ขาขวา weak เกรด  1 ความดันโลหิตสูง  ได้รับการผ่าตัดสมองแบบเจาะรูที่กะโหลกศีรษะ  ประเมินการกลืน Day 26   ไม่พร้อมฝึก  มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองซ้ำ  เสี่ยงปอดอักเสบจากภาวะกลืนสำลัก นอนโรงพยาบาล 33 วัน ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการ monitor สัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาท  ได้รับการประเมินการกลืน ได้รับการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ   ผลลัพธ์การประเมินการกลืนและฝึกกลืนผู้ป่วยรายที่ 1 สามารถฝึกกลืนได้สำเร็จหลังผ่าตัดใน Day 16  ถอดสายยางให้อาหารได้ก่อนกลับบ้าน  ผู้ป่วยรายที่ 2 ใส่สายยางกระเพาะอาหารทางจมูกเพื่อให้อาหารปั่น  ได้รับการฟื้นฟูการกลืนต่อเนื่องที่บ้าน  สามารถฝึกกลืนได้สำเร็จหลังกลับบ้านใน Day 7

          การประเมินการกลืน และการฝึกกลืน ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะกลืนลำบาก จาก การทรงตัว การพูด การควบคุมลิ้น ต่างกัน  สามารถฝึกกลืนได้สำเร็จในระยะต่างกัน ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากการสำลักได้ เพื่อลดการเกิดของผู้ป่วยติดเตียง 

References

ดิษยา รัตนากรและคณะ.(2554). Current Practical Guide to Stroke Management. กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์.

นฤมล นามวงษ์. ( 2561). ผลของโปรแกรมฟื้นฟูการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก.(วิทยานิพนธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย).

พรสวรรค์ โพธิ์สว่าง .(2560). คู่มือชุดรายการอาหารไทยสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบากในพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง บรณาธิการ). คำแนะนำอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก .สำนักพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กร มหาชน ) .

มนันชยา กองเมืองปัก (บรรณาธิการ) (2560). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ

ทางการพยาบาล . ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล แผนกการพิมพ์ : กรุงเทพฯ.

ยงชัย นิละนนท์. (2560). โรคหลอดเลือดสมอง. ใน มณธิรา มณีรัตนะพร, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย และ ศรีสกุล จิรกาญจนากร (บรรณาธิการ). อายุรศาสตร์ทันใจ. กรุงเทพ: พริ้นท์เอเบ็ล.

รุ่งทิวา ชอบชื่น.( 2557). บทบาทพยาบาลในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก.ศรีนครินทร์เวชสาร, 29, 13-15.

เวชระเบียนผู้ป่วยใน.(2563). งานสถิติผู้ป่วย. โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช.

ศิรินาฎ สอนสำนึก , กุสุมา คุววัฒนาสัมฤธิ์ และสุปรีดา มั่นคง . ( 2560 ). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการ

พยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23 (3), 284-297.

Edmiaston,J.,Connor,L.T.,Loehr,L.,Steger -May, K.&Ford,A.L.(2014) A SimpleBedside dysphagia screen , validate against vedeoflooroscopy, defects dysphagia and aspiration with high sensitivity.

Journal of stroke and Cerebrovascular Disease , 23(4), 712-716.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30