วงล้อประเมินดัชนีมวลกาย เด็กอายุ 7-18 ปี

ผู้แต่ง

  • ชนะ โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

               นวัตกรรมวงล้อประเมินดัชนีมวลกาย เด็กอายุ 7-18 ปี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินดัชนีมวลกายของเด็กอายุ 7-18 ปี ทำให้ เด็ก ครู หรือผู้ปกครอง สามารถแปลผลน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะโภชนาการได้ โดยได้พัฒนามาจากเครื่องคำนวณดัชนีมวลกายหรือ BMI CALCULATOR ของผู้ใหญ่ ประดิษฐ์โดยใช้การแทนค่าสมการทางคณิตศาสตร์ทำให้สามารถคำนวณหาสแกนของเด็กที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนมาทำเป็นเครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย เด็กอายุ 7-18 ปี ได้ และได้นำค่าการแปลผลดัชนีมวลกายขององค์การอนามัยโลกมาใช้ในการแปลผลดัชนีมวลกายของเด็กอายุ 7-18 ปี โดยแปลผลตามอายุและเพศ (BMI FOR AGE)

                 การทดสอบประสิทธิภาพนวัตกรรม  ผู้ประดิษฐ์ได้นำวงล้อประเมินดัชนีมวลกายเด็กอายุ 7-18 ปี ทดสอบกับเด็กกลุ่มอายุ 7-18 ปี  ทดสอบกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น แล้วนำไปทดสอบอีกครั้งกับนักเรียน จำนวน 100 คน  สรุปผลมีความพึงพอใจในการใช้งาน ร้อยละ 88 

                  วงล้อประเมินดัชนีมวลกายเด็กอายุ 7-18 ปี นี้ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้เด็ก ครู หรือผู้ปกครอง สามารถแปลผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงได้ด้วยตนเอง ทำให้ทราบภาวะโภชนาการ สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการได้ในเบื้องต้น สถานศึกษาหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประเมินภาวะโภชนาการของเด็กได้อย่างง่าย สะดวก และประหยัด

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2543). คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก

ส่วนสูง เพื่อประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย. กรุงเทพฯ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2542). เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงและครื่องชี้วัด ภาวะโภชนาการ

ของประชาชนไทย. กรุงเทพฯ.

ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ. (2547). ดัชนีมวลกายในกุมารเวชศาสตร์.วารสารโภชนบำบัด,15(3),

-156.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สมุดบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ชั้น ม.1- ม.6.พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

องค์การอนามัยโลก (2007). BMI For Age 5-19 Years. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562 จากวิกิพีเดีย https://www.who.int/growthref/who2007_bmi_for_age/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30