ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ มณีพงศ์
  • วลัยพร สิงห์จุ้ย
  • สัญญา สุขขำ
  • เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง

คำสำคัญ:

ประชาชน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรม 3อ 2ส

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ซึ่งได้แก่ อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา  ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 10 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 632 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ    2ส พัฒนาโดยกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ  45 – 54  ปี ระดับการศึกษา ประถมศึกษา  อาชีพเกษตรกร มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับปานกลาง  มีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ระดับปานกลาง  มีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรงทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =1.00,  p =.000)  และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม 3อ 2ส  ทั้ง 6 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ ทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพ  การตัดสินใจด้านสุขภาพ  การจัดการตนเองด้านสุขภาพ  มีความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นเส้นตรงทางบวก ไปในทิศทางเดียวกันระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ประจำปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

ประไพพิศ สิงหเสม,พอเพ็ญ ไกรนรา,วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 11(1), 37-51.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2563). สุขภาพคนไทย 2563 :สองทศวรรษ ปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานสถานการณ์โรค NCD พ.ศ.2561 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรและกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สืบค้น 5 มีนาคม 2563, จาก วิกิพิเดีย http://www.thaincd.com.

สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCD พ.ศ.2562 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรและกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สืบค้น 5 มีนาคม 2563, จากวิกิพิเดีย http://www.thaincd.com.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2561. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สำนักสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ.2558.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2564, จากวิกิพิเดีย http://www.nso.go.th.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาลัยมหิดล. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารี แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม 3อ 2ส ของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุน

บริการสุขภาพ; 15(3), 62-70.

Daniel, W.W. (1977). Marriage and family Development. 5th ed. Philadelphia: Lippincott.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science &

Medicine, 67 (12), 72-78

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30