การรายงานอุบัติการณ์เข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสารคัดหลั่ง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์
  • พัชรินทร์ วิหคหาญ
  • กนกวรรณ ศิริพรรณ

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์เข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคม การสัมผัสสารคัดหลั่ง รายงานอุบัติการณ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสารคัดหลั่ง และศึกษาเหตุผลของการรายงานหรือไม่รายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ4 ปีการศึกษา 2562  จำนวน 222 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการเกิดอุบัติการณ์ถูกเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาด หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยและการปฏิบัติหลังได้รับเข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของ  มีคมและสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Index of item objective congruence: IOC) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.66-1.00 ความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ KR-20 คำนวณได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.72  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา  2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นตัวแทนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่มีประสบการณ์ในการเกิด อุบัติการณ์เข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสารคัดหลั่ง  จำนวน 30 คน สัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  3  คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า อุบัติการณ์ถูกเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาด หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 39.64 ลักษณะของการเกิดอุบัติการณ์ส่วนใหญ่ถูกหลอดยา/เศษแก้วบาด ร้อยละ 90.91 เกิดขณะกำลังเตรียมอุปกรณ์ ร้อยละ 78.41 ตำแหน่งอวัยวะที่เกิดอุบัติการณ์ ร้อยละ 100 เกิดที่ปลายนิ้ว นักศึกษาไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน ร้อยละ 69.32 การปฏิบัติหลังเกิดอุบัติการณ์ของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ ล้างบริเวณอวัยวะที่ได้รับอุบัติเหตุด้วยน้ำสะอาดทันที ร้อยละ 92.05 การได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้นหลังเกิดอุบัติการณ์ ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจเลือด ร้อยละ 43.18 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า เหตุผลที่นักศึกษารายงานเมื่อเกิดอุบัติการณ์คือ การคำนึงถึงผลกระทบต่อภาวะสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้ป่วย สำหรับเหตุผลที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่รายงานเนื่องจาก กลัวถูกตำหนิจากอาจารย์และพยาบาลพี่เลี้ยง และกังวลกับขั้นตอนในการรายงานอุบัติการณ์ ดังนั้นสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลควรส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและทัศนคติที่ดีแก่นักศึกษาในการรายงานเมื่อเกิดอุบัติการณ์ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา

References

คนึงสุข พู่พิสุทธิ์. (2539). การถูกเข็มทิ่มตำหรือ ของมีคมบาดจากการให้การพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครสวรรค์.สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565, จากวิกิพีเดีย http://www. library.pi.ac.th.

จิตรลดา บุญเดช และคณะ. (2549). ความชุกของการบาดเจ็บต่อของมีคมหรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานและเหตุผลที่มีผลต่อการมาหรือไม่มารายงานผลในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานวิจัย). ขอนแก่น: ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรวรรณ สุวรรณกาญจน์. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากของมีคมในบุคลากรของ

โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา.(วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีว

เวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

นุสรา ประเสริฐศรี วิไลลักษณ์ ติยาพันธ์ อภิรดี เจริญนุกูล และ วรางคณาบุตรศรี. (2562). ความรู้และการป้องกันอุบัติเหตุเข็มและของมีคมทิ่มตำของนักศึกษาพยาบาล.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(1),160-171.

นวลจันทร์ สุพรรณ. (2548). อุบัติการณ์เข็มทิ่มตำและของมีคมบาด กับการจัดการในบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชี่ยงใหม่.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก อาบกนก ทองแถม ณัฐชยา พลาชีวะ คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์ และคณะ.(2564). การเกิดเข็มทิ่มตำและของมีคมบาดในนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3),1-9

พร บุญมี กฤตพัทธ์ ฝึกฝน พงศ์พัชรา พรหมเผ่า.(2556). อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาด และการสัมผัสสารคัดหลั่งในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(2), 124-136.

มะลิวัลย์ เต็งสุจริตกุล ณัฐวุฒิ มิ่งขวัญ ธนากรวรรณกุล ปิยนุช รัตนโกเศศ และคณะ. (2557). อุบัติการณ์และเหตุผลที่รายงานหรือไม่รายงานอุบัติการณ์ภายหลังได้รับบาดเจ็บจากของมีคมหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(4), 61-75.

ยุวดี ชาติไทย และนพรัตน์ เรืองศรี. (2545). ศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำ การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของบุคลากรพยาบาล. ตากสินเวชสาร, 20(1), 50-61.

วิลาวรรณ คริสต์รักษาและคณะ. (2563). คุณลักษณะของอาจารย์พยาบาลที่พึงประสงค์ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐานตามความคาดหวังของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 40(3), 139-148.

วิลาสินี โอภาสถิรกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2558). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 40(2), 49-61.

Bagnasco,A., Zanini,M., Catania,G., Watson,R.,Hayter,M., Dasso,N.,et al.(2020). Predicting needlestick and

sharps injuries in nursing students :Development of the SNNIP scale. Nursing Open, 7(5), 1578-1587.

Farahnaz,J., Fariborz M-G., MohammadReza N., Mehrnaz A.(2018). Needlestick Injuries Among Healthcare Workers: Why They Do Not Report their Incidence?. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 23(5),382-387

Galazzi,A., Rancati,.S.,& Milos,R.(2014). A survey of accidents during the clinical rotation of syudents in a

nursing degree program. Giornale Italiano Di Medicina Del Lavoro Ed Ergonomia, 36(1), 25-31.

Rubbi,I.,Cremonini,V.,Butuc,A.,Cortini,C., Artioli,G.,Bonacaro.A.,et al.(2018). Incidence and type of health care

associated injuries among nursing students : an experience in northern Italy. Acta Bio-Medica,

(7), 41-49.

Smith DR,Leggat PA. (2005). Needlestick and sharps injuries among nursing student. Journal of Advanced

Nursing, 51(5), 449-455.

Zhang.X., Chen.Y., Li.Y., Hu.J.,Z., ET AL. (2018). Needlestick and sharps injuries among nursing students in Nanjing, China. Workplace Health and Safety, 66(6), 276-284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28