ความสุขและคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุรินทร์ มีลาภล้น
  • เยาวลักษณ์ มีบุญมาก

คำสำคัญ:

ความสุข คุณภาพชีวิต นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความสุขและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และเปรียบเทียบระดับความสุขและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี ประชากรคือนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 -4 ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2563 จำนวน 463 คน กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 -4 จำนวน 210 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละชั้นปี หลังจากได้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างแล้ว ใช้วิธีการจับฉลากเลขที่ของนักศึกษาเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความสุข และแบบวัดคุณภาพชีวิต ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ 0.84 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA  และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้สถิติเชฟเฟ่

       ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนความสุขสูงสุดโดยอยู่ระดับมีความสุขมากกว่าคนทั่วไป รองลงมาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1, ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 2 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ระดับมีความสุขเท่ากับคนทั่วไป นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงสุดโดยอยู่ระดับคุณภาพชีวิตดี รองลงมาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3, ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 1 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ระดับคุณภาพชีวิตกลางๆ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 – 4 มีคะแนนความสุขและคะแนนคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, 2 และ 4 มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง

สรุป นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนความสุขและคุณภาพชีวิตสูงที่สุด และนักศึกษาพยาบาลแต่ละชั้นปีมีคะแนนความสุขและคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ ผู้จัดการศึกษายาบาลควรจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงสมรรถนะที่พึงประสงค์และความสุขและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาไปพร้อมกัน

References

กรมสุขภาพจิต. (2565). สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าความสุข. สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากพิกิพิเดีย https://www.dmh.go.th/news-

กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, กาญจนา เลิศถาวรธรรม, วรเดช ช้างแก้ว, และวิภารัตน์ ยมดิษฐ์. (2563). ปัจจัยที่มี

อิทธิพลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(1), 71-82.

เกสร เกษมสุข และกรรณิกา วิชัยเนตร. (2560). การศึกษาความสุขของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ.

วารสารพยาบาลทหารบก, 18(3), 228-235.

จินตนา กิ่งแก้ว, และณัฐธยาน์ บุญมาก. (2561). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัย เฉลิมกาญจนา

จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 105-117.

ชุติมา เพิงใหญ่, ตวงพร ชุมประเสริฐ, และ ศรีวัฒนา เพ็ชรรัตน์. (2562). การให้คุณค่าเชิงวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลกับการก้าวสู่วิชาชีพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขเครือข่ายใต้,6(3), 221-228.

ธเนศ ถวิลหวัง. (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและองค์กร. นครพนม: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม.

นิจวรรณ วีรวัฒโนดม, บังอร ศิริสกุลไพศาล, พรฤดี นิธิรัตน์, ทิพวรรณ ตั้งวงศ์กิจ, และสุวัฒนา เกิดม่วง.

(2562). การพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาล “การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 167-180.

นิตยากร ลุนพรหม และอุมาพร เคนศิลา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุขของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก” 25 พฤษภาคม 2561 อุบลราชธานี หน้า 555-563.

ปัทมา ทองสม. (2553). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-110.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และ เบญจวรรณ พิททาร์ด. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 97-108.

เพ็ญจมาศ คำธนะ, สรัลรัตน์ พลอินทร์, ภคพร กลิ่นหอม, และ พงษ์ศักดิ์ ป้านดี. (2562). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 123-133.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และ วิลาวัณย์ เพ็งพานิช. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิต

ของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 6(2), 16-27.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, และจรัมพร โห้ลำยอง. (2556). คุณภาพ

ชีวิต การทำงาน และความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, และ วรวรรณ จุฑา.

(2552). การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย(Version 2007): กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, วิภาพร วรหาญ, และวิพร เสนารักษ์. (2554). ความสุขของนักศึกษาพยาบาล

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ,

(2), 70-79.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities,

Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28