การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็ง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วรรณภา พฤกษะวัน
  • อรชร กันจีน๊ะ
  • ประไพศรี ปัญญาอิ่นแก้ว
  • เสาวณีย์ ฤดี
  • เยาวภา พรเวียง

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศทางคลินิก การป้องกันพลัดตกหกล้ม ผู้ป่วยมะเร็ง

บทคัดย่อ

       การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ  พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็ง และประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการนิเทศ  ศึกษาในหอผู้ป่วยทางมะเร็ง 5 หอ โรงพยาบาลราชวิถี  ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565  เลือกตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพแบบเฉพาะเจาะจง  แบ่งเป็นกลุ่มผู้นิเทศ 20 คน และผู้รับการนิเทศ 45 คน ดำเนินการศึกษา 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการณ์และประเมินความต้องการที่จำเป็น 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ  4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศและปรับปรุงพัฒนา  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็ง  และแบบรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบทดสอบ ความรู้ของผู้นิเทศ  แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศ  แบบบันทึกรายงานอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test

       ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่พัฒนา โดยใช้หลักสัมพันธภาพตามรูปแบบของ Proctor  ประกอบด้วย  การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ  และแผนการดำเนินการใช้รูปแบบการนิเทศ   2) คะแนนความรู้เฉลี่ยของผู้นิเทศ หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3) คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้รับการนิเทศ หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   4) ค่าเฉลี่ยอัตราการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งก่อนและหลังใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05     

References

คณะอนุกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันพลัดตกหกล้ม ภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี. รายงานการเฝ้าระวังและป้องกันพลัดตกหกล้ม 2562-2563.

งานเวชระเบียนและสถิติ กลุ่มงานดิจิทัลทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี.(2562) รายงานสถิติประจำปี 2561. สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://www.rajavithi.go.th.

งานเวชระเบียนและสถิติ กลุ่มงานดิจิทัลทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี. (2563). รายงานสถิติประจำปี 2562. วันที่ 2 มกราคม 2565 จากวิกิพิเดีย https://www.rajavithi.go.th.

นารีรัตน์ จิตมนตรี. (2554). การหกล้มในผู้สูงอายุ. ใน วิลาวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ :จามจุรีโปรดักท์.

บุปผา จันทร์จรัส. (2546). การพัฒนาแบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ผ่องพรรณ ธนา, กนกรัตน์ แสงอำไพ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2018). ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4), 52-60.

ผ่องศรี สุวรรณพายัพ. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาล พระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 12-26.

รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา และรัชนี นามจันทรา. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(2),193-209.

สุพัตรา สงฆรักษ์, สุคนธ์ ไข่แก้ว และเบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. (2018). ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกสำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 14(2), 35-47.

Agency for healthcare Research and Quality. Preventing Falls in Hospitals. Retrieved Nov 10, 2021, from https://www.ahrq.gov/patient-safety/settings/hospital/fall-prevention/toolkit / overview.html#Problem

John R. Cutcliffe, Kristiina Hyrkas, John Fowler. (2011). Routledge Handbook of Clinical Supervision Fundamental International Themes. [Internet]. [cited 2011]. Available from: https://www. routledge.com/Routledge-Handbook-of-Clinical-Supervision-Fundamental-International-Themes/Cutcliffe-Hyrkas-Fowler/p/book/9781138954908

Morse, J. M. (2002). Enhancing the safety of hospitalization by reducing patient falls. American Journal of Infection Control, 30(6), 376-380.

Nancy E Kline, Bridgette Thom, Wayne Quashie, Patricia Brosnan, and Mary Dowling. (2008). A Model of Care Delivery to Reduce Falls in a

Major Cancer Center. Retrieved July 6, 2021, from https://www.ahrq.gov/downloads/pub/advances2/vol1/Advances-Kline_32.pdf

Proctor, B. (2001). Training for the supervision alliance attitude, skills and intention.In J.R. Cutcliffe, T. Butterworth, and B. Proctor, (eds.), Fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge.

Putri Nadia and Vetty Yulianty Permanasari (2018). Compliance of the Nurse for Fall Risk Assessment as a Procedure of Patient Safety: A Systematic Review. KnE Life Sciences. Retrieved Jan 10, 2021, from https://knepublishing.com/index.php/KnELife/article/view/3573/7480

Sandra Cruza , Luís Carvalhoa, Elsa Lopesb.(2015). Improving the Evaluation of Risk of Fall through Clinical Supervision: An Evidence. Retrieved Jan 10, 2021, from https://www.researchgate.net/ publication/ 293808376_Improving_the_Evaluation_of_Risk_of_Fall_through_ Clinical_ Supervision_ An_Evidence

Sloan, G., & Watson, H. (2002). Clinical supervision models for nursing: structure, research and limitations. Nursing standard (Royal College of Nursing (Great Britain) : 1987), 17, 41-46. doi:10.7748/ns2002.10.17. 4.41.c3279

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28