ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตการทํางานต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท มาลัยศรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิตการทำงาน พนักงานขับรถพยาบาลจังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) วัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพคุณภาพชีวิตการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาลและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตการทำงานต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานขับรถพยาบาลของหน่วยยานพาหนะโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 81 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาล  คุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ คุณภาพชีวิตด้านความก้าวหน้าในการทำงาน คุณภาพชีวิตด้านความภาคภูมิใจในอาชีพ คุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ คุณภาพชีวิตด้านการสื่อสารข้อมูล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 ดังนี้ 0.001, 0.039, 0.008, 0.858, 0.010, 0.010, 0.000 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.354, 0.229, 0.294,0.283, 0.283 และ 0.497 ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อย

       ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ในด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ  ควรส่งเสริมให้พนักงานขับรถพยาบาลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านความรู้ความเข้าใจ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานขับรถมีทักษะในการสื่อสาร  ส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถในด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสม มีความก้าวหน้าในการทำงาน ให้ความสำคัญและจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน และ จัดให้มีช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลากหลายช่องทาง เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยง่าย

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2561) แนวทางการดําเนินงานสุขศึกษาและพฤติกรรม สุขภาพ การส่งเสริมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี , โรงพิมพ์กองสุขศึกษากระทรวงสาธารณสุข.

ดวงพงศ์ พงศ์สยาม.(2552). มานุษยวิทยาสุขภาพ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์

ภารณี วสุเสถียร(2561).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยของ พนักงานขับรถพยาบาล เขตสุขภาพที่ 6.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35; (1) :65-76.

นภัสวรรณ พชรธนสาร. (2559). สิ่งคุกคามต่อสุขภาพและอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน. วารสารควบคุมโรค, 42 (4) : 303-313.

มาริสา จันทร์ขุนทด. (2560). ที่ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถเทรลเลอร์ในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง.ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา .

ศิเบญญา พุฒศิรอาภากร, สุพัฒสร พึ่มกุล และณรงค์ชัย วงค์วาร (2560) . การประเมินผลการติดตั้ง GPS Tracing ในระบบรถพยาบาล.นนทบุรี,สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2551). ตำราตรวจโรคการรักษาโรคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ดี.

อนุชา เศรษฐเสถียร. (2558). สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิจัย

ระบบสาธารณสุข, 9 (3) : 9-23.

Ginggeaw, S. & Prasertsri, N. (2015). The relationship between health literacy and health behaviors among older adults who have multi-morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(3), 43-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28