ประสิทธิผลการรักษาอาการปวดข้อเข่า โดยใช้การนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบ และพอกเข่าด้วยสมุนไพร ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ พงษ์เกิดลาภ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล อาการปวดข้อเข่า การนวดแบบราชสำนัก การประคบ พอกเข่าด้วยสมุนไพร

บทคัดย่อ

           อาการปวดเข่าพบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มอายุมากกว่า 75 ปี และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น วิธีการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกสามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าได้ การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการรักษาอาการปวดข้อเข่า โดยใช้การนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบและพอกเข่าด้วยสมุนไพร ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอาการปวดเข่า จำนวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้รับการนวดแบบราชสำนักตามขั้นตอน 30 นาที ประคบสมุนไพรที่ข้อเข่าและใต้พับเข่า 30 นาที และพอกเข่าด้วยสมุนไพรพอกเข่า 30 นาที ติดต่อกัน 3 วัน และหลังจากทำการรักษาตามขั้นตอนครบ 3 วัน จะพอกเข่าด้วยสมุนไพรพอกเข่าวันละ  1 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามระยะเวลารอบความปวดของผู้ป่วย และแบบสอบถามประเมินอาการผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม Modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) ฉบับภาษาไทย โดยมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test        

            ผลการศึกษาหลังจากที่กลุ่มตัวอย่างได้รับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบและการพอกเข่าด้วยสมุนไพรหลังการทดลอง พบว่า

  1. ระยะเวลารอบความปวด ภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ 36.67 ภายใน 1 เดือน ร้อยละ 36.67 และไม่กลับมาปวดซ้ำ ร้อยละ 26.66
  2. ระดับความเจ็บปวดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)
  3. ระดับอาการฝืดหรือข้อยึดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)
  4. ระดับความสามารถในการทำงานของร่างกายเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)

         สรุปได้ว่า การรักษาโดยใช้การนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการประคบและพอกเข่าด้วยสมุนไพร   เป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดและบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม ดังนั้นควรนำวิธีการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกดังกล่าวไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). คู่มือดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กิติญาภรณ์ พรมรอด. (2561). ผลของการพอกเข่าด้วยสมุนไพรต่อระดับความปวด เข่าของผู้สูงอายุที่ เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหกรรมวิชาการสาธารณสุขสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2561“การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนมหาสารคาม มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0)”. มหาสารคาม : สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

งานเวชระเบียน. (2564). รายงานสถิติของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าในงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลศรีประจันต์. สุพรรณบุรี : โรงพยาบาลศรีประจันต์.

ซานียะห์ มะแงสะแต. (2561). การศึกษาผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับพอกเข่าด้วยสมุนไพร เปรียบเทียบกับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับประคบสมุนไพรในการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฐิติรัตน์ ชัยชนะ, วนิษา ปันฟ้า, ยิ่งยง เทาประเสริฐ, ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงศ์. (2563). ศึกษาและติดตามผลการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นด้วยการแพทย์แผนไทย. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 6(1) , 45-54.

ดลยา ถมโพธิ์. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการนวดกดจุด ประคบ และพอกสมุนไพร เพื่อบำบัดอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม ของโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 2 , 391-401.

นฤดล ฮดฤาชา. (2562). ประสิทธิผลของยาพอกเข่าต่อระดับความปวดของเข่า (ยาพอกเข่าดูดพิษ พิชิตปวดในผู้สูงอายุ). สกลนคร. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสามัคคี อำเภอโพนนาแก้ว.

ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตร นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรวี. (2561). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(1),104-111.

พทป.กรกฎ ไชยมงคล. (2562). ประสิทธิผลของการใช้ยาสมุนไพรตำรับพอกเข่าในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารช่อพะยอม, 30 (1), 119-128.

พงษ์สิทธิ์ แก้วพวง. (2563). ประสิทธิผลของตำรับยาพอกเข่าบรรเทาอาการปวดข้อเข่าในผู่ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. โรงพยาบาลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

มณีรัตน์ วรรณะ, มนปพร คำแพง, พัชราภรณ์ บุญสิทธิ์, อัมพาพรรณ พงศ์ผลาดิสัย, ทิยานันท์ สวนกูล, โชติกา เทียบคำ,…สุวรรณี สุมหิรัญ. (2561). ประสิทธิผลการนวดร่วมกับการประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 1(1), 120-130.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม อายุรเวทวิทยาลัย. (2547). ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์) ฉบับอนุรักษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนียา วัชรีอุดมกาล, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา, และอารี ตนวาลี. ความสามารถในการทำงาน ของข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง. เวช ศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 24(1), 20-27.

ศิลดา การะเกตุ, นิชกานต์ สุยะราช, พัชรินทร์ ใจดี, สมบัติ กาศเมฆ, สุนทร พรมเผ่า, ผณิตา ประวัง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังจากการรักษา โคลนสมุนไพรพอกเย็นร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า. เชียงรายเวชสาร, 9(2).

ศิริรัตน์ วงศ์เล็ก. (2561). ประสิทธิผลการนวดแบบราชสำนักและการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการพอกสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อมเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

ศิริพร แย้มมูล, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, และอิสรา ศิรมณีรัตน์. (2562). ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วย โรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 1(1), 16-27.

สุจิตรา บุญมาก. (2563). ผลการนวดไทยต่อผู้ป่วยอาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืดในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 518-532.

สุดารัตน์ เกตุรัตน์, ยุพลักษณ์ ส่อสืบ. (2560). ประสิทธิผลของการรักษาอาการปวดเข่าด้วยการพอกยาสมุนไพรแบบผสมผสานในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง.

สุพัตราพร คุ้มทรัพย์. (2563). การศึกษาผลของยาพอกสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวังหน้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 275-284.

อนุสรณ์ ศรแก้ว, กฤษฎิ์ ทองบรรจบ, ดุสิดา ตู้ประกาย. (2563). ประสิทธิผลของการแพทย์แผนไทยต่ออาการข้อเข่าเสื่อมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 7(1), 41-54.

Kuptniratsaikul, V., & Rattanachaiyanont, M. (2007). Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) Osteoarthritis Index for knee osteoarthritis. Clinical Rheumatology, 26(10), 1641-1645.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22