การพัฒนารูปแบบการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ด้วยกะลามะพร้าว ตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการดูแลเท้า กะลามะพร้าวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative method) และกึ่งทดลอง (Quasi experimental) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และประเมินผลรูปแบบ การดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยกะลามะพร้าวในการลดอาการชาที่เท้าทั้งสองข้าง ทั้งนี้ใช้วิธี การเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่1 ศึกษาสถานการณ์การดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามแนวคิดการรับรู้สมรรถนะของตนเอง และสืบค้นและคัดสรรภูมิปัญญาท้องถิ่น ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ การดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามแนวคิดการรับรู้สมรรถนะของตนเองที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตพื้นที่หนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และควบคุมกลุ่มละเท่าๆ กัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการแสวงหา กิจกรรมหรือนวัตกรรม ในป้องกันโรคแทรกซ้อนจากอาการชาปลายประสาทที่เท้าโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น..ผู้วิจัยได้นำกะลามะพร้าวนวดเท้ามาพัฒนา และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการใช้จริง เครื่องมือวิจัยใช้เป็นแบบสอบถามโดยมีการประเมินตั้งแต่ก่อนและหลังทดลองใช้กะลามะพร้าวนวดเท้าที่สัปดาห์ที่ 8
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้กะลานวดเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยจากจำนวนจุด ที่เท้า โดยโมโนฟิลาเมนต์น้อยกว่าก่อนการทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของระยะประเมินผลหลังการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต่อการนวดเท้าด้วยกะลามะพร้าวโดยรวมอยู่ในระดีมาก (M=4.48, SD=.71)
References
กนกวรรณ ผมทอง, เขมารดี มาสิงบุญ,และวัลภา คุณทรงเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 109-118.
กลุ่มยุทธศาสตร์ แผนและประเมินผลกองโรคไม่ติดต่อ.(2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
เกศศิริ วงษ์คงคำ, อรพรรณ โตสิงห์, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, Barbara Riegel, เฉนียน เรืองเศรษฐกิจ และชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานกับระดับความรุนแรง ของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29 (Suppl 2), 124-32.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, ลักคณา บุญมี และชไมพร จินต์คณาพันธ์. (2560). การนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวาน: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(4),
-129.
ณฐมน สืบชุย, ศศิธร สกุลกิม, ภัคจุฑานันท์ สมมุ่ง, จุฑารัตน์ พิมสาร, กาญจนา เพชรฤาชา และอรวรรณ วิมลทอง. (2560). ประสิทธิผลของนวัตกรรมลูกปัดไม้นวดกดจุดลดอาการชาที่เท้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 17(1), 87-98.
เพชรรัตน์ รัตนชมภู, มัลลิกา บุญทอง, กัญจนภรณ์ ธงทอง, ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์, สุภัสสร วันสุทะ และลัดดาวัลย์ ยืนยาว. (2562). ประสิทธิผลพรมกะลานวดเท้าต่อการลดการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลวังยาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 159-177.
ศศิธร สกุลกิม, พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, ปัญญา ปุริสาย,กาญจนา วินทะไชย์, และกิจจา จิตรภิรมย์. (2561). ผลของการใช้นวัตกรรมพรมมะค่าลดอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนกชุม. วารสารควบคุมโรค. 44(3),258-273.
ศศิมา พึ่งโพธิ์ทอง, วิสุทธิ์ โนจิตต์,และมยุรี บุญทัต. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยรางไม้ไผ่: กรณีศึกษาตำบลแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(1), 75-87.
สุชาดา ขาวศรี,อำพล บุญเพียร,และ ปฐมา จันทรพล, (2565). ผลการใช้นวัตกรรมกะลาปาล์มลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 22(1), 93-105.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2565). สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย https://www.dmthai.org
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). การตรวจราชการและนิทเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย https://www.spo.moph.go.th
American Diabetes Association. (2017). MERICAN DIABETES ASSOCIATION STANDARDS OF MEDICAL CARE IN DIABETES-2017. Diabetes Care, 40, Supplement 1, January.
Bandura A. (2010). Self–efficacy. In The Corsini Encyclopedia of Psychology. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, 4, 1534- 36.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: principles and methods. Lippincott Company.
Rossboth, S., Lechleitner, M., Oberaigne, W. (2020). Risk factors for diabetic foot complications in type 2 diabetes—A systematic review. Endocrinol Diab Metab,4, e00175.
World health organization. (2022). Statistic of Diabetes milieus disease 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564 จาก วิกิพิเดีย https://www.who.int/health-topics/diabetes.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว