บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ ในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฐิตารีย์ ภูฆัง
  • นิตยา เพ็ญศิรินภา
  • พรทิพย์ กีระพงษ์

คำสำคัญ:

การคงอยู่ พยาบาลวิชาชีพ บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและเครือโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบรรยากาศองค์การ ความเหนื่อย-ล้า การคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพทำงานแบบเต็มเวลาในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งมี  อายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 415 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 209 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามแผนกในแต่ละสาขาโรงพยาบาลในเครือฯ เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือมีค่าความเที่ยง 0.78-0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง ความเหนื่อยล้า  ทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง การลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำและความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ส่วนการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพมี 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุงาน การเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและสัมพันธภาพมีผลเชิงบวก ส่วนการลดค่าความเป็นบุคคลและความเหนื่อยล้าทางอารมณ์มีผลเชิงลบต่อการคงอยู่ โดยร่วมกันทำนายคะแนนการคงอยู่ได้ร้อยละ 36.0

           ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรหาแนวทางลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมองเห็นคุณค่าและความสำคัญในการดูแลผู้รับบริการและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าขององค์การ เพื่อธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพให้คงอยู่ในองค์การได้นานโดยเฉพาะในช่วงที่มีภาระงานมาก จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด

References

กิตติพล ไพรสุทธิรัตน และอรพรรณ ชัยมณี. (2558). ความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานและปัจจัยที่ เกี่ยวข้องในพยาบาลโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 16(2),185-194.

คนึงนิตย์ พงษ์สุวรรณ. (2561). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 123-141.

เฉลิม หาญพาณิชย์และทัศนา บุญทอง. (2558). เปิดศึกแย่งพยาบาล ประเคนสารพัดรายได้ล่อใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย http://www.prachachat.net

ดุษณีย์ ยศทอง. (2562). ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลและแนวทางการแก้ไข : การจัดการปัจจัยระดับบุคคล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 134-143.

ธีระชัย วงศ์เอกอักษร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2564). ภาวะเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรสุขภาพในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(3), 1-16.

นวลรัตน์ วรจิตติ. (2560). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ 2), 112-120.

เบญจพร เสาวภา. (2564). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดลำปาง. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 348-356.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ด่าน สุทธาการพิมพ์.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. (2561). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 112-121.

วันเพ็ญ นาสอนใจ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 43-50.

ศิวัช ธำรงวิศว, จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์ และวิศรุต ศรีสินทร. (2562). ความเหนื่อยล้าจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(3), 177-185.

สภาการพยาบาล. (2565). สภาการพยาบาลนำเสนอข้อมูลนโยบายและทิศทางการผลิตการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลปัญหาการขาดแคลนและการธำรงรักษาพยาบาล.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย https://www.tnmc.or.th

สมชาย ยิ่งยืน. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนให้คงอยู่และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2564). พยาบาลฟิลิปปินส์จำนวนมากลาออกท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19ที่ทวีความรุนแรงขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย https://thainews.prd.go.th

สุมาลี อยู่ผ่อง. (2557). ปัจจัยการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 32(1), 81-90.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2020). WHO เผยทั่วโลกยังขาดพยาบาลอีก 6 ล้านคนและ‘โควิด- 19’ ซ้ำเติมปัญหาให้รุนแรงขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564 จากวิกิพิเดีย https://www.hfocus.org.

World Health Organization. (2019). Burn-out an "occupational phenomenon": International Classification of Diseases. Retrieved from https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.

World Health Organization. (2020). Nurses are the ‘backbone’ of healthcare and the world is six million short, declares WHO. Retrieved from https://nursingnotes.co.uk/news/workforce/nurses-backbone-healthcare-world%20million-shortdeclares/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22