ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ อุบลทัศนีย์
  • ขนิษฐา สุนพคุณศรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ประกอบการร้านอาหาร

บทคัดย่อ

          จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ธุรกิจร้านอาหารยอดขายลดลงมากกว่า ร้อยละ 80 เนื่องจากลูกค้ามีความกังวลในการใช้บริการ ส่วนพนักงานกังวลที่ร้านอาหารอาจจะถูกปิดจากมาตรการของรัฐ แต่ธุรกิจร้านอาหารยังคงต้องแบกรับต้นทุนคงที่ ส่งผลให้ต้องตัดสินใจเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก จึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ในการหาความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

           ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมเฉลี่ยระดับดี (M=2.89, SD=0.219) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การศึกษาและสถานะการเงินมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (p<0.05) ส่วน เพศ อายุ สถานภาพสมรส และการได้รับวัคซีนโควิด-19 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพบว่า ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส    โคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.201, 0.381, 0.182 และ 0.299 ตามลำดับ) ดังนั้น จึงยังมีความจำเป็นที่ต้องเสริมสร้างองค์ความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ประกอบการ และแนะนำการป้องกันโรคฯ ที่ถูกต้อง เหมาะสม ให้ความครอบคลุมสถานประกอบการร้านอาหารในทุกพื้นที่ และควรให้หน่ายงานที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ความรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผ่านสื่อต่างๆ และเมื่อพนักงานในร้านติดเชื้อควรหยุดให้บริการหรือปิดร้าน รักษาจนหายเป็นปกติแล้วกลับมาให้บริการต่อไป

References

สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). สุพรรณบุรี Covid-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565, จาก https://covid.suphanburi.go.th

กัลยาณี โนอินทร์ และ นิศากร เชื้อสาธุชน. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน และการบาดเจ็บจากการเก็บขยะในช่วงน้ำท่วม ของพนักงานเก็บขยะ : กรณีศึกษาในสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารระบบวิจัยสาธารณสุข. 6(4), 513-523.

กฤษฎา พรหมมุณี และ ฆายนีย์ บุญพันธ์. (2565). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) : กรณีศึกษาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565, จาก https://kb.psu.ac.th

จินทภา เบญจมาศ และ นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา,7(2), 98-115.

จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชากรวัยทำงานในตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 437-445.

เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564). การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://covid19.nrct.go.th

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565,จาก https://mmm.ru.ac.th

จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ และ นุจรี ไชยมงคล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ ในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4), 54-64.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และ พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ธนภรณ์ ทองศิริ, อารยา พิชิตชัยณรงค์, ธันยพร กิ่งดอกไม้, สุภาพ ธรรมกุล, ภาวลิน แสนคำราง และ ซัยนี่ บิลก่อเด็ม. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(1), 8-20.

นงศ์ณพัชร์ มณีอินทร์ และ อิทธิพล ดวงจินดา. (2564). การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 1-18.

นภสร กันหาชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

บงกช โมระสกุล และ พรศิริ พันธสี. (2563). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.

สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .(วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาสาธารณสุขชุมชน, 4(2), 19-30.

Green. L.W. and M kreuter. (1980). Health promotion planning an Environment Approach. Toronto : Mayfield.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York : Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22 — Updated on 2022-12-29

Versions