ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • นสหชม เอโหย่
  • วิภาพร สิทธิสาตร์
  • สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง แนวคิด สบช โมเดล ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ    ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 คน และกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินผลลัพธ์โดยใช้        แบบประเมินปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล มีค่าความเชื่อมั่น .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลด้วย Wilcoxon-signed rank test และ Mann Whitney U

           ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลองหลังมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <  .05  2. ค่าคะแนนเฉลี่ย                การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< .05 จึงเห็นได้ว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีผลต่อการคะแนนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการดูแลตนเอง ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพสามารถ            นำโปรแกรมไปใช้ในการให้บริการดูแลสุขภาพของประชาชนต่อไป

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี. นนทบุรี: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

เขตสุขภาพที่ 2. (2563). ข้อมูลสุขภาพเขตสุขภาพที่ 2. ค้นหาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563. จาก https://dhes.moph.go.th

นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี และ ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการ ปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. Nursing Journal, 43(5), 104-115.

นสหชม เอโหย่, วิภาพร สิทธิสาตร์, นิดา มีทิพย์ และ สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะ อสม.ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงตามวิชัยโมเดล 7 สี ต่อความรู้ การปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารกองการพยาบาล, 49(2), 12-22.

ปัทมา แจ่มจำรูญ และธนิดา ผาติเสนะ. (2560). การประเมินผลโครงการการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ในการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 125-134.

พรพจน์ บุญญสิทธิ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 4(2), 111-130.

วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพ: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22