ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เนติยา แจ่มทิม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ ความสุข 5 มิติของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ที่มีอายุตั้งแต่ 60-70 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษาตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling ) กลุ่มทดลอง 30 คน แบบสอบถามและโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ที่ใช้สร้างจากแนวคิดทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow , s Hierarchy Theory of needs) วิเคราะห์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

           ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 60-70 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีภาวะสุขภาพส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว พบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หลังเข้าโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ ระดับคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           ข้อเสนอแนะ บุคลากรที่ทำงานในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน ควรมีการนำโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และด้านการศึกษาสอดแทรกการสอนนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลชุมชน เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต.(2556).คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 6.นนทบุรี: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ทนงศักดิ์ มุลจันดา และทัตภณ พละไชย. (2561). ผลการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ โรงเรียนผู้สูงอายุนาผาง ตำบลห้วย ฯ จังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชะนี สรรพสิทธิประสงค์. 2(2):15-29

สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณี สมรัตน์ และอนันญา เดชะคำภู.(2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 หน้า 699-709

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.(2562).รายงานสถิติประชากรและเคหะจังหวัดสุพรรณบุรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติแห่งปี. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22