ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต ในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสาหิน ต.วัดพริก อ.เมือง จ.พิษณุโลก
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของกลุ่มสงสัยป่วยโรค ความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสาหิน ต.วัดพริก อ.เมือง จ.พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย จากผู้ที่มารับบริการ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกค่าความดันโลหิตที่บ้าน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา paired t-test และ Independent sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<.05) 2) ค่าความดันโลหิตของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง เมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<.05) 3) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลอง มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<.05) และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต ประกอบ ด้วยความดันโลหิต ตัวบน (Systolic) และ 4) ความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ของกลุ่มทดลอง มีค่าต่ำกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<.05) ดังนั้น การใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีกำลังใจในการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และมีโอกาสกลับมาเป็นกลุ่มปกติที่มีภาวะสุขภาพที่ดี
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบข้อมูลสุขภาพ. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ main/index.php
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี. บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการ การดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ 2565. http://www.thaincd.com/document
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกปี 2562. http://www.thaincd.com/document/
เนติยา แจ่มทิม,สินีพร ยืนยง และปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงตําบลโคกคราม อําเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 22(1), 65-76.
น้ำทิพย์ ยิ้มแย้ม และยุวดี รอดจากภัย. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 46-58.
วรดา ทองสุุก วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ และปิ่นหทัย สุภเมธาพร. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร, 47(4), 229-241.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced nursing, 21(6), 1201-1210.
Miller, J. F. (1992). Coping with chronic illness: Overcoming powerlessness. (2nd ed.).F. A. Davis.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว