ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • มิตรธิรา แจ่มใส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง การสร้างแรงจูง พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อ.เมือง             จ.พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายจากผู้ป่วยที่มารับบริการ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เครื่องมือเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และแบบบันทึกค่าความดันโลหิตที่บ้านของผู้ป่วย ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.84  มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test และ Independent sample t-test 

           ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมี คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงดีขึ้น และระดับความดันโลหิตลดลง เมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (p<.05) 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตขของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ มีผล  ทำให้พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงดีขึ้น และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี      ถือเป็นโปรแกรมที่ความเหมาะสม สามารถการนำไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อันทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการผู้ป่วย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยยึดชุมชน เป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs). กรุงเทพฯ: อีโมชั่นอาร์ต จำกัด.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี. นนทบุรี: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

จารุณี ปลายยอดและ ชีวรัตน์ ต่ายเกิด. (2565). ผลของโปรแกรมการให้คำแนะนำแบบสั้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลอินทร์บุรี, Singburi Hospital Journal, 30 (3), 64 – 75.

จิราภรณ์ นกแก้ว. (2558). ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการฝึกโยคะต่อค่าดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37 (1),10-23.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2560). สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร : บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2563). ประสิทธิผลการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในฮีโมโกบิลเอวันซี. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกนควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์,14 (2), 16-25.

น้ำทิพย์ ยิ้มแย้ม และยุวดี รอดจากภัย. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24 (2), 46-58.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุภาพร นาคกลิ้ง และ ปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(1), 27-35.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: ทริคธิงค์.

สุมาพร สุจำนงค์ มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 29(2), 20–30.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17