ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น

ผู้แต่ง

  • อุษณียาภรณ์ จันทร นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พจนารถ สารพัด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พฤติกรรมการป้องกันโรค วัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

   

            วัยรุ่นตอนต้นเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น การวิจัยแบบ หาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019    ในวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อายุระหว่าง 13–15 ปี ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 356 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่นตอนต้น และบิดามารดาหรือผู้ปกครอง แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส   โคโรน่า 2019 ได้ค่าความเชื่อมั่นครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .77, .73, .91, .88 และ .82 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค การสนับสนุนทางสังคม ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้นได้ร้อยละ 31.0 (R2 = .310, p < .01) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (β = .340, p < .001) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (β = .272, p < .001) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (β = .148, p < .01) และความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  (β = .134, p < .01) ตามลำดับ

           ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ และครูควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค   ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในวัยรุ่นตอนต้น โดยเน้นเพิ่มการรับรู้ความสามารถในตนเอง ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

References

กรรณิกา พันธ์ศรี และรังสรรค์ โฉมยา. (2563). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ. http://www.hed.go.th

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ธนภรณ์ ทองศิริ, อารยา พิชิตชัยณรงค์, ธันยพร กิ่งดอกไม้, สุภาพ ธรรมกุล, ภาวลิน แสนคำราง และซัยนี่ บิลก่อเด็ม. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(1), 8-20.

นงค์ณพัชร์ มณีอินทร์ และอิทธิพล ดวงจินดา. (2564). การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 1-18.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2563). การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ, และสมสิริ รุ่งอมรรัตน์ (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. Nursing Science Journal of Thailand, 39(4), 41-54.

มะลิ วิโรจน์แสงทอง. (2563). โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์.https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option

รังสฤษฎ์ แวดือราแม, ระวิ แก้วสุกใส, พรทิวา คงคุณ, อัชฌา สุวรรณกาญจน์, และกรรณภา ไชยประสิทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้กับพฤติกรรมการดําเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 80-92.

วัลลภา ดิษสระ และบุญประจักษ์ จันทร์วิน. (2563). พยาบาลกับการจัดการป้องกันและการควบคุมการ ระบาด COVID-19 ในชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12). 89-104.

วรรณศิริ ศรีสุข, ขนิษฐา เมฆกมล และอรภิชา บรรเทาวงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 65-78.

วิรัญญา ศรีบุญเรือง, ธนรัตน์ นิลวัฒนา, ศิริโสภา สำราญสุข, กนกพร อนิรภัย, ศานสันต์ รักแต่งามและปวีณา สปิลเลอร์. (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร, 10(1), 195-206.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทรวงมหาดไทย. (2564). การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ และปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT คำสั่งที่ มท. 0230/ว.2018. https://www.trat.go.th

ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. (2565). สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในประเทศไทย. https://www.facebook.com/informationcovid19

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (2565). ระบบสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี. https://bigdata.mathayomspb.go.th

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, มิ่งขวัญ ศิริโชติ, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ และศุภอัฑฒ์ สัตยเทวา. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(1), 36-49.

อินทิตา อ่อนลา, อัจฉริยาพร ชุมสงฆ์, อินทหวา คำโยธา, อริศรา ปลื้มใจ, อามิส โสภารัตน์, อาริญาชัยทอง, อาริยา เสียงเพราะ, อารีรัตน์ ประจงจิตร, เอกรินทร์ พรมสุวรรณ, และเรืองฤทธิ์ โทรพันธ์. (2565, 12 พฤษภาคม). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ (ประธาน), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (The 13th Hatyai National and International Conference), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.

Fathian D., Zohre K., Mohadeseh T., Banafsheh J., Maryam. (2021). Factors associated with preventive behaviors of COVID-19 among adolescents: Applying the Health Belief Model. Research in Social and Administrative Pharmacy, 17(10), 1786-1790. 17.10.1016/j.sapharm.2021.01.014.

Fisher, W., Fisher, J. & Harman J. (2003). The Information–Motivation– Behavioral Skills Model: A general social psychological approach to understanding and promoting health behavior. Social psychological foundations of health and illness, 22(4), 82-106.

Hou, Z., Song, S., Du, F., Shi, L., Zhang, D., Lin, L., & Yu, H. (2021). The Influence of the COVID-19 Epidemic on Prevention and Vaccination Behaviors Among Chinese Children and Adolescents: Cross-sectional Online Survey Study. JMIR public health and surveillance, 7(5), e26372. https://doi.org/10.2196/26372

Luo, Y., Yao, L., Zhou, L., Yuan, F., & Zhong, X. (2020). Factors influencing health behaviours during the coronavirus disease 2019 outbreak in China: an extended information-motivation-behaviour skills model. Public Health, 185, 298-305.

Neuman, W. L. (1991). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches. Boston: Allyn and Bacon.Oosterhoff, B., & Palmer, C. A. (2020). Attitudes and Psychological Factors Associated With News Monitoring, Social Distancing, Disinfecting, and Hoarding Behaviors Among US Adolescents During the Coronavirus Disease 2019 Pandemic. JAMA pediatrics, 174(12), 1184–1190. https://doi.org/10.1001/jamapediatrics.2020.1876

Racine, N., McArthur, B. A., Cooke, J. E., Eirich, R., Zhu, J., & Madigan, S. (2021). Global prevalence of depressive and anxiety symptoms in children and adolescents during COVID-19: a meta-analysis. JAMA pediatrics, 175(11), 1142-1150.

Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of behavioral medicine, 4(4), 381-406.

Yuan, T., Liu, H., Li, X. D., & Liu, H. R. (2020). Factors affecting infection control behaviors to prevent COVID-19: An online survey of nursing students in Anhui, China in March and April 2020. Medical science monitor: international medical journal of experimental and clinical research, 26, e925877-1. https://doi.org/10.12659/MSM.925877

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17