ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสตรีมุสลิมในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล ปิ่นเฉลียว สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุทธีพร มูลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กาญจนา ศรีสวัสดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สตรีมุสลิม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อศึกษาอิทธิพลในการทำนายของปัจจัยอายุ ความตระหนักรู้ ความรู้ในการป้องกันโรค ความต้องการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสตรีมุสลิม

          กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่นับถือศาสนาอิสลามอายุ 20-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 107 คน ซึ่งถูกสุ่มแบบมีระบบจากครัวเรือนที่มีสตรีมุสลิมอาศัยอยู่ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความตระหนักรู้ ส่วนที่ 3 ความรู้ในการป้องกันโรค ส่วนที่ 4         ความต้องการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และส่วนที่ 5 พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบสอบถามส่วนที่ 2-5 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา .96-1.00 ส่วนความรู้ในการป้องกันโรคมีค่าความเที่ยงคูเดอร์ริชาร์ดสัน .80 ส่วน     ความตระหนักรู้ ความต้องการเรียนรู้ และพฤติกรรมป้องกันโรค มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .78, .92 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

           ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสตรีมุสลิมในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และอายุ ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และความต้องการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายการผันแปรได้     ร้อยละ 25.6

References

กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. นนทบุรี: กลุ่มเทคโนโลยี และระบาดวิทยา กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

กฤษฎา พรหมมุณี. (2565). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาตาบลยะหา อาเภอยะหา จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดิเรก วันแอเลาะ และอภินันท์ วันแอเลาะ. (2565). ข้อมูลสัปปุรุษในจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนนทบุรี. (เอกสารอัดสำเนา)

ศูนย์ปฏิบัติการเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนนทบุรี. (2566). ข้อมูลสถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนนทบุรี. http://www.nonthaburi.go.th.

สุทธีพร มูลศาสตร์. (2563). บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(2), 141-156.

DOH Dashboard กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ปิรามิดประชากร นนทบุรี ปี 2565. http://www.moph.go.th

Iorfa, S. K., Ottu, I. F. A., Oguntayo, R., Ayandele, O., Kolawole, S. O. Gandi, J. C…& Olapegba, P. O. (2020). COVID-19 knowledge, risk perception, and precautionary behavior among Nigerians: A moderated mediation approach. Front Psychol, 11, 1-10.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NY: Prentice Hall. http://www.learningfromexperience.com.

Rezakhani Moghaddam, H., Ranjbaran, S., & Babazadeh, T. (2022). The role of e-health literacy and some cognitive factors in adopting protective behaviors of COVID-19 in Khalkhal residents. Front. Public Health, 10:916362.

Muslih, M., Susanti, H. D., Rias, Y. A., & Chung, M.-H. (2021). Knowledge, attitude, and practice of Indonesian residents toward COVID-19: A cross-sectional survey. Int. J. Environ. Res. Public Health, 18, 4473.

Pinchoff, J., Santhya, K., White, C., Rampal, S., Acharya, R., & Ngo, T. D. (2020). Gender specific differences in COVID-19 knowledge, behavior and health effects among adolescents and young adults in Uttar Pradesh and Bihar, India. PLoS ONE, 15(12), e0244053, 1-13. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0244053

Qutob, N., & Awartani, F. (2021). Knowledge, attitudes and practices (KAP) towards COVID-19 among Palestinians during the COVID-19 outbreak: A cross-sectional survey. PLoS ONE 16(1), e0244925, 1-11. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0244925

Shaukat, R., Asghar, A., & Naveed, M. A. (2021). Impact of health literacy on fear of COVID-19, protective behavior, and conspiracy beliefs: University students’ perspective. Libr Philos Pract (e-journal). 4620. https://digitalcommons.unl.edu/libphilprac/4620

Thibaut, F., & van Wijngaarden-Cremers, P. J. M. (2020). Women’s mental health in the time of Covid-19 pandemic. Front. Glob. Womens Health 1:588372.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17