ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ ต่อความรู้และทักษะการบริบาลในพระสงฆ์ เขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • วรรณฤดี เมืองอินทร์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
  • เสกสรร นิยมเพ็ง สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
  • พระราชพัชรธรรมเมธี วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • สุรีรัตน์ ณ วิเชียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศุภสิทธิ์ สุขี โรงพยาบาลเขาค้อ
  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ พระสงฆ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ ต่อความรู้และทักษะการบริบาลในพระสงฆ์ เขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พระสงฆ์จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 รูป กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ โปรแกรมประกอบด้วยการให้ความรู้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ทักษะการวัดสัญญาณชีพ การทำแผล การให้อาหารทางสายยาง และการช่วยฟื้นคืนชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ในการบริบาลพระภิกษุไข้ และแบบประเมินทักษะการบริบาลพระภิกษุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมด้วยสถิติ Wilcoxon-signed rank test และ Mann Whitney U test

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะการบริบาลในพระสงฆ์ กลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ในพระสงฆ์ เขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีคะแนนมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05  2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะการบริบาลในพระสงฆ์ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ในพระสงฆ์ เขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีคะแนนมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ มีผลต่อการพัฒนาความรู้และทักษะการบริบาลในพระสงฆ์ เขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำโปรแกรมพัฒนาทักษะการบริบาลภิกษุไข้ ไปใช้ในการให้ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพในพระสงฆ์อาพาธต่อไป

References

กุญช์พสิฏฐ์ เสาะหายิ่ง, กาญจนา พนมรัมย์, กาญจนา ราดด่านจาก, กุณฑิกา ด่านกระโทก, ณัฐกานต์ พลศรี และคมวัฒน์ รุ่งเรือง. (2564). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลเมือง สุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 59-71.

กรมอนามัย. (2566, 15 สิงหาคม). สถานการณ์พระสงฆ์ในปัจจุบัน. https://healthtemple.anamai.moph.go.th/public/knowledge/viewClip/23

เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง, เบญจมาศ สุขสถิตย์, วัชรพงษ์ วชิรปัญโญ, วโรดม เสมอเชื้อ และชมพูนุท สิงห์มณี. (2561). การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 112-119.

โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิต และชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์. (2564). สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1793-1804.

นสหชม เอโหย่, วิภาพร สิทธิสาตร์ และสุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2565). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด สบช โมเดล ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 5(2), 129-139.

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์, ผกาสรณ์ อุไรวรรณ, จริญญา แก้วสกุลทอง และปภาสินี แซ่ติ๋ว. (2562). การพัฒนา รูปแบบถวายความรู้การดูแลด้านสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 25(2), 104-117.

โรงพยาบาลสงฆ์. (2562, 17 ตุลาคม). รายงานประจำปี 2562 โรงพยาบาลสงฆ์.

https://www.priest-hospital.go.th/pdf/2562/

ศูนย์อนามัยที่ 2. (2565, 15 เมษายน). ข้อมูลวัดและพระสงฆ์ สามเณร เขตสุขภาพที่ 2. https://hpc2service.anamai.moph.go.th/ltcdata/behavior02.php

อานิ บานเช้า. (2564, 15 เมษายน). ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของพระสงฆ์ เขตสุขภาพที่ 2. https://hpc2service.anamai.moph.go.th/researchhpc2/file/227.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22 — Updated on 2023-11-26

Versions