ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

ผู้แต่ง

  • พิมพ์นภา ชมชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิสุทธิ์ โนจิตต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดวงใจ เกริกชัยวัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รุ่งนภา ต่อโชติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเก็บข้อมูลระหว่างกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคซ์ เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าจำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระดับสูง (M=2.77, SD=.26) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านที่มีระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านโภชนาการ และการทำกิจกรรมทางกายและออกกำลังกาย ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถตนเองต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพขององค์กร โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 22.30

          ผลการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้บริหารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ควรสนับสนุนให้นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น โปรแกรมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และมีการกำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพในองค์กร โดยเฉพาะด้านการบริโภคอาหารและการทำกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายทั้งในการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร

References

กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563, 27 พฤษภาคม). รายงานประจำปี 2563 https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1115820 210305082338.pdf

ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์ นฤมล และนันทิยา โข้ยนึ่ง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 29 (3),170-178.

ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร .(2561, 29 พฤษภาคม). ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยในอนาคต. https://www.bltbangkok.com/lifestyle/work-wellness/4228/

ติยาพร คำสนิท บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ ปภินวิชตฎ์ โพธิ์กาศ และธีระชัย วะนากลาง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11 (1), 111-121.

ธนพร แย้มศรี ชนัญชิดาดุษฎีทูลศิร และยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35 (2), 158-168.

ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม, ดวงเนตร ธรรมกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน, จริยา ชื่นศิริมงคลและศิริพร ครุฑกาศ. (2558). ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ): การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9 (1), 52-62.

วิชัย เทียนถาวรและณรงค์ ใจเที่ยง (2565). บทบาทการดำเนินงานการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในทศวรรษหน้าของสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 236-264.

ศิโรธร มะโนคา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์และนิรัตน์ อิมามี. (2019). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา 42 (1), 146-156.

ศุภกร หวานกระโทก และ จุไรรัตน์ วัชรอาสน์. (2018). ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเขต 18 จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10 (1), 132-141.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม

สุขภาพ (สสส.). (2564, 3 กุมภาพันธ์). สุขภาพคนไทย 2563.

https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/ThaiHealth2563/book.html#p=1

สมาพันธ์เครือข่าย NCDs ประเทศไทย. (2562, 26 พฤษภาคม). สมาพันธ์เครือข่าย NCDs ตื่นตัวหาแนวร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศ จับมือพรรคการเมืองขับเคลื่อนนโยบายลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs. https://www.bangkok biznews.com/pr-news/biz2u/256700

สุรัชยา น้อยสกุล, สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์และศจี จิระโร (2563, 11 ตุลาคม). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จังหวัดแม่ฮ่องสอน.https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters.

สุริยา ฟองเกิด, สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, มนทรา ตั้งจิรวัฒนา และสิบตระกูล กันตลานุกูล. (2561, 26 พฤษภาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย. https://he02.tcithaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112285/87505.

อภิชัย คุณีพงษ์. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10 (37), 58-66.

Bandura, A. (1982). Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychology, 6 (3), 241-244.

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press; 1977.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., and Parson, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4 th ed. Upper Saddle River, N.J. : Prentia Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22