ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ภักดีอำนาจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • สุรีรัตน์ ณ วิเชียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 40 คน และกลุ่มทดลอง 40 คน กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอัตโนมัติ fasting blood glucose และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด 3) แบบทดสอบความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ผลของคะแนนความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.84  4) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคเบาหวาน ผลของคะแนนความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ได้แก่ paired t-test, Independent t-test  และสถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon-signed rank test และ Mann Whitney U test

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง ดีกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < .05  2) ภายหลังการใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง กลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < .05 จึงเห็นได้ว่าโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง มีผลต่อการพัฒนาความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการลดลงของระดับน้ำตาลปลายนิ้วของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพควรนำโปรแกรมไปใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 13 พฤศจิกายน). กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที . https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2563-2566. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน และ ศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย.และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 24(2), 83-96.

วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพ: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศูนย์สุขภาพเมืองพิษณุโลก. (2565). สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการปี 2563-2565. พิษณุโลก: ศูนย์สุขภาพเมืองพิษณุโลก.

Akaratanapol, P., Aumaor, T., Khungtumneam, K., Limteerayos, P., Pidet, K., Phuangprasonka, R., Phuthasane, C., ... & Kompayak, J. (2021). Risk to major complicationsamong diabetic and hypertensive Patients in Nong-Prue health promoting hospital, Bangphli, Samutprakan. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(2), 37-52.

AYoh, N., Sittisart, V., Na-Wichian, S. (2022). The effectiveness of health promoting program on behavior modification based on PBRI’s model for patients with hypertension in Samokhae Sub-district, MueanDistrict, Phitsanulok Province. The Journal of Boromarjonani College of Nursing, Suphanburi, 5(2), 129-139. (in Thai)

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Jamjumroon, P., Phatisena, T. (2017). Using the 7 colors diabetes mellitus self- awareness evaluation project in preventing and controlling diabetes in subdistrict health promotion hospitals in Nakhon Ratchasima. Ratchaphruek, 15(2), 125-34. (in Thai)

Tienthavorn, V. (2013). Surveillance, control, prevention, diabetes, high blood pressure in Thailand. Bangkok: Division of health education, department of health service support. Bankkok: Ministry of health Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22