ปัญหาและสาเหตุการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดในชุมชน
คำสำคัญ:
ปัญหาการใช้สารเสพติด สาเหตุการกลับเป็นซ้ำ ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและสาเหตุของการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติด อายุตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 11 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลถ่ายทอดประสบการณ์ จากความรู้สึกนึกคิด และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติดในชุมชน แบ่งเป็นประเด็นหลัก ประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ 1) สาเหตุการใช้สารเสพติด มีประเด็นย่อย ได้แก่ 1. เพื่อนชวน 2. อยากลอง 2) สาเหตุการกลับเป็นซ้ำ มีประเด็นย่อย ได้แก่ 1. หยุดกินยาทางจิตเวช 2. กลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ 3. ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและสูบบุหรี่ 3) การดูแลตนเองป้องกันการกลับเป็นซ้ำ มีประเด็นย่อย ได้แก่ 1. การกินยาทางจิตเวชอย่างต่อเนื่อง 2. การจัดการความเครียด 3. การมีความตั้งใจจริง เพื่อเลิกใช้สารเสพติด
เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวช สิ่งสำคัญคือ เรื่องของการรับประทานยาจิตเวชอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นครอบครัวและชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจสาเหตุและปัญหาที่สำคัญของการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย ได้ร่วมกันดูแลและพัฒนารูปแบบให้ผู้ป่วยจิตเวชได้กินยาจิตเวชอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวช และลดปัญหาต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมต่อไป
References
กรมสุขภาพจิต. (2564, 18 ตุลาคม). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ข้อมูลจากคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (HDC) ประจำปีงบประมาณ 2564. https://dmh.go.th/report/datacenter/hdc/reds.asp
กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติด (ฉบับทดลองใช้). นนทบุรี: บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด.
ณัฐติกา ชูรัตน์, มุสลินท์ โตะแปเราะ. (2563). รูปแบบการป้องกันการกลับเป็นซ้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาสโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวิถีพหุวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 213-228.
ณัฐติกา ชูรัตน์. (2559). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (1), 24-36.
ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. (2554). ผลของโปรแกรมครอบครัวบำบัดแบบผสมผสานต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(2), 76-90.
สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์,พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตครั้งแรก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(4), 331-340.
Burnard, P. (1991). A method of analyzing interview transcripts in qualitative research. Nurse Education Today, 11(6), 461-466.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. California: SAGE.
Sadock, B. J., Sadock, V. A., & Ruiz, P. (2015). Kaplan & Sadock’s synopsis of psychiatry behavioral sciences / clinical psychiatry. (11thed). Philadelphia: Lippincott Williams & Willkins.
Sadock & Sadock. (2000). Kaplan and Sadocks Comprehensive Texbook. Of Psychiaty (7th ed). Philadelphia : Lippincott.
Verdoux, Gindre, & Sorbara. (2002). Cannabis use and the expression of psychosis vulnerability in daily life. European Psychiatry, 17(1), 180-181.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-11-26 (2)
- 2023-11-22 (1)
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว