ผลของ “นวัตกรรมลูกตีนเป็ด” ต่อการป้องกันออฟฟิศซินโดรมในนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เปรมกมล เชื้อม่วง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐกมล เกิดทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นรินี หีบแก้ว วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นัฐฐญา แก้วเสียง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปรีณ์นุช ฟีสันเทียะ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พนิตสุภา เป็นศิริ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วาสิตา แสงทอง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อินทุอร บุญอาษา วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • กมลพรรณ วัฒนากร วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, นักศึกษาพยาบาล, ลูกตีนเป็ด, ออฟฟิศซินโดรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกไม่สุขสบายกายจากออฟฟิศซินโดรมก่อนและหลังใช้นวัตกรรมลูกตีนเป็ด รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรมในการออกกำลังกาย 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสอบถามความรู้สึกไม่สุขสบายกาย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม ซึ่งมีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.97 และ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของความไม่สุขสบายกายจากออฟฟิศซินโดรมหลังใช้นวัตกรรม (M=1.36, SD=0.44) ต่ำกว่าก่อนใช้นวัตกรรม (M=2.57, SD=1.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.79, SD=0.40) ดังนั้น นวัตกรรมที่ใช้ในการออกกำลังกายนี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในกลุ่มนักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กุสุมา พจนา. (2565). ผลของโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการยศาสตร์ต่ออาการปวดและคุณภาพชีวิตของพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(1), 45-57.

จิราพรรณ พลเรียงโพน, จุฑาภรณ์ งามวิลัย, อุรารัช บูรณะคงคาตรี และเกศิณี หาญจังสิทธิ์. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมไม้นวดยางยืดสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3), 1-12.

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร, สารัช วิเศษหลง และโสภา ชัยพัฒน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านภู่ หมู่ 5 ตําบลวัดธาตุ อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. ในการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 นวัตกรรมทีพลิกโฉมสังคมโลก (น. 149-157). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

โชติกา แหร่มบรรเทิง และคณะ. (2565). การเปรียบเทียบประสิทธิผลของตำรับน้ำมันมหาจักรกับ 1% ไดโคฟีแนคเจลลดอาการปวดในโรคลมปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 8 (2), 29-44.

ณรงค์ศักดิ์ จันทะวัง. (2563). ตำแหน่งทางกายวิภาคของศีรษะที่ตรงกับแนวเส้นพื้นฐานและจุดสัญญาณของการนวดไทย. วารสารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 27(3), 38-54.

บุตรี กาเด็น, ศุภลักษณ์ สุวรรณ และวุฒิชัย ปวงมณี. (2565). การพัฒนาเก้าอี้นั่งเรียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 23(2), 228-242.

มัสยา มนุษย์, สรรใจ แสงวิเชียร, ศุภลักษณ์ ฟักคำและชะเอม แก้วคล้าย. (2564). การศึกษาตำรานวดจุดวัดราช สิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. 6(1), 51-62.

ยงศักดิ์ ตันติปิฎก. (2563). ตำราการการนวดแผนไทยเล่ม 1.(พิมพ์ครั้งที่ 5). มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา.

วิราวรรณ ขันสู้. (2566). ผลการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้าม เนื้อ 4 ท่าในผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัด หนองคาย. วารสารวิจัยสุขภาพ โรงพยาบาลและชุมชน, 1(1), 16-29.

วิไลลักษณ์ สุกใส. (2562). ผลของการออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนต่ออาการปวด ต้นคอและองศา การเคลื่อนไหวคอของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณะสุข กาญจนาภิเษก.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เวลาเรียนที่นักเรียนใช้สมดุลกับผลการเรียนรู้. https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-46.

สาริษฐา สมทรัพย์ และคณะ. (2562). แนวทางส่งเสริมและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ PACKAGE 6 พิชิตออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome Management (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท เอ็มดี ออล กราฟิก จำกัด.

สกุนตลา แซ่เตียว, ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และวรินทร์ลดา จันทวีเมือง. (2562). ผลของโปรแกรมให้ความรู้ต่อการรับรู้ความเสี่ยงอันตรายและพฤติกรรมป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน: หน่วยงานราชการพื้นที่เขตเมืองสงขลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 1(1), 48-59.

Becker MH. (1974). The Health Belief Model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2, 324–508.

Buchner, A., Erdfelder, E., Faul, F.& Lang,A.-G. (2020). G*Power3.1 manual. https://www.psychologie. hhu.de/ fileadmin/redaktion/

Sethpitak T. (2015). The study of work conditions that contribute to the severity of Computer syndrome. dissertation. Bangkok: Thammasat University. http:/ethesisachive.library.tu.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03