การพัฒนาโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ด้วยผู้ป่วยมาตรฐานเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัด

ผู้แต่ง

  • สุนทรี ขะชาตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุพัตรา จันทร์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปวิดา โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง, โจทย์สถานการณ์จำลอง, ผู้ป่วยมาตรฐาน, การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด, การสื่อสารเพื่อการบำบัด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยผู้ป่วยมาตรฐานเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารเพื่อการบำบัด โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการโจทย์สถานการณ์ในกลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 116 คน 2) การพัฒนาโจทย์สถานการณ์โดยอาจารย์ประจำภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช            3) การทดลองใช้ และ 4) การประเมินประสิทธิผลของโจทย์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จำนวน 92 คน ได้จากการอ่านตาราง Krejcie & Morgan เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยโดยผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโจทย์สถานการณ์ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดทักษะปฏิบัติการสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารเพื่อการบำบัด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ที่ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย             โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หาความตรงเชิงเนื้อหาโดย ใช้ดัชนีความสอดคล้องมีค่าเท่ากับ 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient มีค่า อยู่ระหว่าง 0.88-0.92 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนประเมินต่างๆ และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาจำแนกวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาโจทย์สถานการณ์ มีประเด็นสำคัญครอบคลุม 5 องค์ประกอบ ได้แก่             (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง (2) ความหลากหลายแต่ละระยะ (3) สถานการณ์พบได้บ่อยใน     สถานการณ์จริง (4) เทคนิคการสื่อสารใช้แตกต่างกัน และ (5) ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นครบถ้วน โดยมีโจทย์สถานการณ์ จำนวน 5 Scenarios และ 2) การประเมินประสิทธิผล พบว่า หลังจากการใช้โจทย์สถานการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ผลคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสร้างสัมพันธภาพ และสื่อสารเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ผลคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจ อยู่ในระดับดีมาก (M=4.64, SD=0.55) สรุปได้ว่า โจทย์สถานการณ์ดังกล่าว ส่งเสริมให้นักศึกษาบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้และพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้

References

นงลักษณ์ คำสวาสดิ์, และวิไลลักษณ์ เผือกพันธ์. (2566). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 9(1), 5-17.

บุปผา ใจมั่น, วิจิตรา จิตรักษ์, โปรยทิพย์ สันตพันธุ์, และอนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี. (2567). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(1), 26-37.

มญช์พาณี ขำวงษ์, สุทธานันท์ กัลป์กะ, วิไลลักษณ์ ศิริมัย, และชาลินี หนูชูสุข. (2563). ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 36(1), 201-211.

ละมัด เลิศล้ำ, ชนิดา ธนสารสุธี, สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์, และชัชรีย์ บำรุงศรี. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6 ฉบับพิเศษ(6), 43-58.

วรางคณา คุ้มสุข, และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 1-11.

สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์, ละมัด เลิศล้ำ, และชนิดา ธนสารสุธี. (2562). การพัฒนารูปแบบโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28 ฉบับพิเศษ, 33-41.

สุนทรี ขะชาตย์, สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, ปวิดา โพธิ์ทอง, และเสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์. (2565). ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยผู้ป่วยมาตรฐานที่ส่งเสริมความรู้ ความมั่นใจในความสามารถของตนเองและทักษะการสื่อสารเพื่อการบำบัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 5(2), 47-59.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และสุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (1), 29-38.

Forchuk, C., & Boyd, M. A. (2018). Communication Therapeutic and The Therapeutic Relationship in Mary Ann Boyd. Psychiatric Nursing: Contemporary Practice. Philadelphia: Wolters Kluwer.

Dwi, B., Zuhroidah, I & Sujarwadi, M. (2020). The Effectiveness of Standardized Patient and Role-play Simulation Methods in Improveing Self-confidence and Therapeutic Communication Skills of Nursing Students. Nursing Health Journal. 9 (1).

https://doi.org/10.36720/nhjk.vail.128.

Groom, J. A, Handerson, D., & Sittner, B. J. (2014). NLN/Jefferies Simulation Framework State

of Science Project: Simulation Design Characteristic. Clinical Simulation in Nursing,

, 337-334.

Jeffries. P.R., & Rogers. K. J. (2012). Theoretical Framework For Simulation Design in Simulation in Nursing Education. USA: Laerdal Medical Corporation.

Linda Wilson, & Samuel W. Price. (2015). Simulation Principles, Practice, and Mehodologies for Standardized Patient Simulation. In Linda Wilson & Ruth A Wittmann. Review Manual for the Certified Health Care Simulation Educator Exam. New york: Springger

Publishing Company, LLC.

Peplau, H. (1952). Interpersonal relations: A theoretical framework for application in nursing. New York: G. Putnam & Sons.

Suzanne, H. C., Natalia, D. A., & Ranjit, K. D. (2018). Teaching and Evaluating Therapeutic Communication in Suzanne, H. C., Simulated Scenarios. In Simulated Scenarios for Nursing Educator. New york: Springger Publishing Company, LLC.

Suzanne, A. F. (2019). Learning to communicate professionally in Norman, L. K. and Debbie, S. Psychiatric Nursing. Missouri: Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03