ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ ณ วิเชียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิยพงศ์ สอนลบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เบญญาภา พรมพุก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นันทา พิริยะกุลกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สายชล จันทร์วิจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยคุณภาพชีวิต, โรคซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

           ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาที่พบบ่อยและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlation research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ความชุกของผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก โดยการคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน อายุ 60-104 ปี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ และแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาค่าความสัมพันธ์ของระดับคุณภาพชีวิต และระดับภาวะซึมเศร้า โดยใช้สถิติ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Correlation)

           ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวม (M=97.36, SD=14.75) อยู่ในคุณภาพชีวิตดี ร้อยละ 58.61 คุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 41.11 และคุณภาพชีวิตไม่ดี ร้อยละ 0.28 เมื่อจำแนกประเภทคุณภาพชีวิตตามองค์ประกอบด้านกาย มีคุณภาพชีวิตปานกลาง (M=26.63, SD=4.28) ด้านจิตใจคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี (M=23.48, SD=3.94)      ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (M=10.44, SD=2.01) และด้านสิ่งแวดล้อม (M=29.52, SD=4.99) มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับ     ปานกลาง ผู้สูงอายุ ร้อยละ 93.61 ไม่มีภาวะซึมเศร้า มีความเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 6.39 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้า พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า (r=-.535) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตรายด้านองค์ประกอบ พบว่า ด้านกาย  (r=-.534) ด้านจิตใจ            (r=-.555) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (r=-.348) ด้านสิ่งแวดล้อม (r=-.442) มีความสัมพันธ์กันในเชิงลบกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ                    

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2561). กรมสุขภาพจิต เปิดศูนย์เชี่ยวชาญโรคจิตเวชแห่งที่ 20 ที่ จ.พิษณุโลก ดูแลประชาชน 5 จ. ภาคเหนือตอนล่าง. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/116874/

กรมสุขภาพจิต. (2562). ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง ต้นเหตุซึมเศร้าในผู้สูงวัยผู้สูงอายุ. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29993

กองสุขศึกษา. (2563). ครอบครัวไทยใส่ใจผู้สูงอายุ. http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=693

ชาญศักดิ์ วิชิต. (2564). การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคอีสาน, 36(1), 24-36.

นิพนธ์ พวงวรินทร์ และคณะ. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale - TGDS). Siriraj Medical Journal. 46(1), 1-9.

นันทิรา หงษ์ศรีสุวรรณ. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสาร มฉก.วิชาการ, 19(38), 105-118.

เทศบาลนครพิษณุโลก. (2565). รายงานสถิติจำนวนผู้สูงอายุในเทศบาลเมือง พิษณุโลก เขต 2 ณ ปี พ.ศ. 2565. พิษณุโลก: เทศบาลนครพิษณุโลก.

ปทิตตา ทรวงโพธิ์, และสุพร วงค์ประทุม. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 4(2), 72-92.

ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ : ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาล, 41(1), 129-140.

พิทยุตม์ คงพ่วง, พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง, วัชรี เพ็ชรวงษ์, & สุนันทรา ขำนวนทอง. (2564). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 338-348.

ยุพาพักตร์ เอลเกนดี้. (2562). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในการป้องกันโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวิพรรดิ พลูลาภ. (2560). ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 72-85.

ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2563). การพยาบาลแบบประคับประคองผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาร, 47(1), 454-466.

ศูนย์สุขภาพชุมชนมหานุภาพ. (2565). รายงานสถิติจำนวนผู้สูงอายุในเขต 2 เทศบาลเมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก: ศูนย์สุขภาพชุมชนมหานุภาพ.

สาวิตรี สิงหาด. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(3), 15-24.

สุหชัย โตสังวาล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(2), 175-188.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง

Askin, H. & Colton, R. (1963). Tables for Statisticians. (3rd ed.). New York: Barnes & Noble Inc.

Baraković, S., Baraković Husić, J., van Hoof, J., Krejcar, O., Maresova, P., Akhtar, Z., & Melero, F. J. (2020). Quality of life framework for personalised ageing: A systematic review of ICT solutions. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(8), 2940.

Cahoon, C. G. (2012). Depression in older adults. AJN The American Journal of Nursing, 112(11), 22-30.

Hinkle, D. E., Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2003). Applied statistics for the behavioral sciences (Vol. 663). Boston: Houghton Mifflin.

Ma, Y. F., Li, W., Deng, H. B., Wang, L., Wang, Y., Wang, P. H., ... & Xiang, Y. T. (2020). Prevalence of depression and its association with quality of life in clinically stable patients with COVID-19. Journal of affective disorders, 275, 145-148.

Pequeno, N. P. F., Cabral, N. L. D. A., Marchioni, D. M., Lima, S. C. V. C., & Lyra, C. D. O. (2020). Quality of life assessment instruments for adults: a systematic review of population-based studies. Health and quality of life outcomes, 18(1), 1-13.

Polit, D.F., Beck, C.T. (2004). Nursing research: principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

The World Health Organization. (2012). The world health organization quality of life (WHOQOL). https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HIS-HSI-Rev.2012.03

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03