ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3-4 ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • เพียงดาว จุลบาท โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • นงณภัทร รุ่งเนย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ชะลอไตเสื่อม, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 114 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง 3) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .78และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษา อายุ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตน การสนับสนุนของครอบครัว    และการรับรู้ความสามารถตนเอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 ได้ร้อยละ 67.6 (R2=.676, p<0.05) ตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตน (Beta=0.541, p<0.05)  รองลงมา คือ การสนับสนุนของครอบครัว (Beta=0.266, p<0.05) และระดับการศึกษา (Beta=0.232, p<0.05) ตามลำดับ บุคลากรทีมสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิและโรงพยาบาล     ควรพัฒนาระบบบริการสุขภาพโดยส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วม และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (บรรณาธิการ). (2565) ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

จันทร์จิรา วาจามั่น, และวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2562). การพัฒนาแนวทางการให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 1-2 ของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัด นครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 175-184.

ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2560). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(2), 94-106.

พนิดา รัตนศรี. (2565). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(2), 209-224.

ภทรพรรณ อุณาภาค, และขวัญชัย รัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 44-54.

ละอองดาว ทับอาจ. (2559). ผลของรูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฤดีรัตน์ สืบวงศ์แพทย์, อรทัย ทำทอง, พรรณี ไพศาลทักษิน, กนกฉัตร สายดวงแก้ว และเครือวัลย์ สารเถื่อนแก้ว. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(2), 181-196.

วิศรุดา ตีเมืองซ้าย, และพิชญาภร ภัคสุพศิน. (2564). การพัฒนารูปแบบการชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกรักษ์ไตปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(3), 125-135.

ศิวิไล โพธิ์ชัย, จินตนา กิ่งแก้ว, และณกานดา ยมศรีเคน. (2565). พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ไม่ได้รักษาด้วยการฟอกไตระยะที่ 1–4 ในตำบลโพธิ์ ตำบลหนองแก้ว ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(3), 48-57.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2566). รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565. แสงจันทร์การพิมพ์.

เสาวนีย์ กระแจะจันทร์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง และเขมารดี มาสิงบุญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1- 3 จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 34(1), 14-22.

หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2566). รายงานสรุปสถิติผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (เอกสารอัดสำเนา).

อาทิตยา อติวิชญานนท์, ภาวนา กีรติยุตวงศ์, และสุภาภรณ์ ด้วงแพง. (2558). ปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(2), 172-185.

Ayat Ali, A. S., Lim, S. K., Tang, L. Y., Rashid, A. A., & Chew, B. H. (2021). The effectiveness of nurse-led self-management support program for people with chronic kidney disease stage 3-4 (CKD-NLSM): Study protocol for a randomized controlled trial. Science Progress, 104(2), 00368504211026159.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (2016). Research in Education. Pearson Education India.

Bonner, A., Havas, K., Douglas, C., Thepha, T., Bennett, P., & Clark, R. (2014). Self‐management programmes in stages 1–4 chronic kidney disease: a literature review. Journal of Renal Care, 40(3), 194-204.

Boopathiraj, C., & Chellamani, K. (2013). Analysis of test items on difficulty level and discrimination index in the test for research in education. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 2(2), 189-193.

Chen, Y. C., Chang, L. C., Liu, C. Y., Ho, Y. F., Weng, S. C., & Tsai, T. I. (2018). The roles of social support and health literacy in self‐management among patients with chronic kidney disease. Journal of Nursing Scholarship, 50(3), 265-275.

Chironda, G., & Bhengu, B. (2019). Barriers to management of Chronic Kidney Disease (CKD) CKD in a renal clinic in KwaZulu-Natal Province, South Africa–A qualitative study. International Journal of Africa Nursing Sciences, 10, 116-123.

Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological bulletin, 112(1), 155-159.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods, 41(4), 1149-1160.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). Cengage.

Hannan, M., Phillips, S. A., Collins, E. G., Quinn, L., Steffen, A., & Bronas, U. G. (2019). Kidney Disease and Cognitive Impairment in Older Adults: The State of the Science. Journal of Clinical Exercise Physiology, 8(2), 74-81.

Harkness, K., Arthur, H., & McKelvie, R. (2013). The measurement of uncertainty in caregivers of patients with heart failure. Journal Nursing Measurement, 21(1), 23-42.

Health Data Center. (2566). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service plan สาขาโรคไต.

https://pbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce

Isnaini, N., Sukma, R., & Aprilina, H. D. (2021, January). The influence of family support on self efficacy of chronic kidney disease. In 4th International Conference on Sustainable Innovation 2020–Health Science and Nursing (ICoSIHSN 2020) (pp. 484-487). Atlantis Press.

Jadoul, M., Aoun, M., & Imani, M. M. (2024). The major global burden of chronic kidney disease. The Lancet Global Health, 12(3), e342-e343.

Kovesdy, C. P. (2022). Epidemiology of chronic kidney disease: an update 2022. Kidney International Supplements, 12(1), 7-11.

Lee, M. C., Wu, S. F. V., Hsieh, N. C., & Tsai, J. M. (2016). Self-management programs on eGFR, depression, and quality of life among patients with chronic kidney disease: a meta-analysis. Asian Nursing Research, 10(4), 255-262.

Lee, S. J., & Chae, C. W. (2014). Health behaviors and risk factors associated with chronic kidney disease in korean patients with diabetes: The fourth korean national health and nutritional examination survey. Asian Nursing Research, 14(8), 8-14.

Lightfoot, C. J., Wilkinson, T. J., & Smith, A. C. (2023). Non-pharmacological management of chronic kidney disease. Medicine, 51(3), 170-175.

Li, H., Jiang, Y. F., & Lin, C. C. (2014). Factors associated with self-management by people undergoing hemodialysis: a descriptive study. International journal of nursing studies, 51(2), 208-216.

Lin, M. Y., Liu, M. F., Hsu, L. F., & Tsai, P. S. (2017). Effects of self-management on chronic kidney disease: A meta-analysis. International journal of nursing studies, 74, 128-137.

Mansoor, K., & Khuwaja, H. M. A. (2020). The effectiveness of a chronic disease self-management program for elderly people: a systematic review. Elderly Health Journal, 6(1), 51-63.

Nguyen, N. T., Douglas, C., & Bonner, A. (2019). Effectiveness of self‐management programme in people with chronic kidney disease: A pragmatic randomized controlled trial. Journal of advanced nursing, 75(3), 652-664.

Ryan P. & Sawin K. J. (2009). The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing Outlook, 57(4), 217-225.

Schrauben, S. J., Cavanaugh, K. L., Fagerlin, A., Ikizler, T. A., Ricardo, A. C., Eneanya, N. D., & Nunes, J. W. (2020). The relationship of disease-specific knowledge and health literacy with the uptake of self-care behaviors in CKD. Kidney international reports, 5(1), 48-57.

Schrauben, S. J., Rivera, E., Bocage, C., Eriksen, W., Amaral, S., Dember, L. M., ... & Barg, F. K. (2022). A qualitative study of facilitators and barriers to self-management of CKD. Kidney International Reports, 7(1), 46-55.

Washington, T., Zimmerman, S., & Browne, T. (2016). Factors associated with chronic kidney disease self-management. Social work in public health, 31(2), 58-69.

Wu, S. F. V., Hsieh, N. C., Lin, L. J., & Tsai, J. M. (2016). Prediction of self‐care behaviour on the basis of knowledge about chronic kidney disease using self‐efficacy as a mediator. Journal of clinical nursing, 25(17-18), 2609-2618.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03