คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : การทบทวนวรรณกรรม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การทบทวนวรรณกรรมบทคัดย่อ
ปัจจุบันภาวะพึ่งพิงได้รับการถูกกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างของประชากรภายในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น และสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ประสิทธิภาพลดลงตามกระบวนการชราภาพ หรือ ความเสื่อมของร่างกาย รวมไปถึงผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค ทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะพึ่งพิงมากขึ้นภายในสังคมไทย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ ตามความต้องการพื้นฐานที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เน้นการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยทางนักวิจัยเล็งเห็นว่า ตัวแปรคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความน่าสนใจ และถูกนำมาศึกษาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีคุณค่า และควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และสามารถพึ่งพาตนเองได้ หลังจากนั้นทำการสืบค้นงานวิจัยปฐมภูมิแล้วได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ThaiJO, PubMed, ProQuest และ ScienceDirect ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ.2566 และสกัดข้อมูลจากการคัดเลือกมาเฉพาะงานวิจัยที่มีคำสำคัญ (keywords) ครอบคลุมทั้งหมดแล้วทำการสังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการทบทวนจากการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัย
ผลการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยอาศัยกระบวนการทบทวนงานวิจัยตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงสามารถสรุปเนื้อหาสาระสำคัญได้ว่า คุณภาพชีวิต (quality of life) หมายถึง การรับรู้ระดับการมีชีวิตที่ดี ความสุข และความพึงพอใจในชีวิตของบุคคล ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบททางวัฒนธรรม ค่านิยม และเป้าหมายของชีวิต ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักของคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย (physical domain) คือ การรับรู้สภาพทางด้านร่างกายของบุคคลที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน 2) ด้านจิตใจ (psychological domain) คือ การรับรู้สภาพทางจิตใจของตนเอง 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationships) คือ การรับรู้เรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) คือ การรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต จากสรุปผลการวิจัย พบว่า สามารถนำไปเป็นข้อมูลด้านการปฏิบัติทางพยาบาลสำหรับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงสามารถนำผลการศึกษาไปปรับใช้กับการเฝ้าระวังการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2567). ฐานข้อมูลกลางกรมอนามัย : ข้อมูลสุขภาพกลุ่มวัยผู้สูงอายุ พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th
เกศกนก จงรัตน์, ศรีธยา ฤทธิ์ช่วยรอด, นันทวุฒิ วงศ์เมฆ และ นิพนธ์ รัตนคช. (2562). ภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(6), 1013-1020.
จันทนา พัฒนเภสัช, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, ศิรินาถ ตงศิริ, วันทนีย์ กุลเพ็ง, ปฤษฐพร กิ่งแก้ว และ ยศ ตีระวัฒนานนท์ (2554). เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิต EQ - 5D - 5L : การทดสอบคุณสมบัติการวัด และค่าน้ำหนักอรรถประโยชน์ภายในประชากรไทย. สืบค้นจาก https://www.hitap.net/research/17587
ชมพูนุช พูมพิจ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และ เดชา ทำดี. (2564). ความสามารถในการดูแล มุมมองด้านบวกในการดูแล และคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. พยาบาลสาร, 48(3), 226-236.
มุขรินทร์ สมคิด. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2526 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และ ยศ วัชระคุปต์. (2560). ระบบประกันการดูแลระยะยาว : ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก (1997) จำกัด.
สุนิสา วิลาศรี, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล และ เพลินพิศ บุญยมาลิก. (2563). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบบริการระยะยาว กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2), 164-176.
สุภาภรณ์ นากลาง และ มณฑล ทองนิตย์. (2559). ภาวะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 62-69.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิพัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และ วราณี พรมานะรังกุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL - BREF - THAI). สืบค้นจาก https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf
Bergner, M., Bobbitt, R. A., Kressel, S., Pollard, W. E., Gilson, B. S., & Morris, J. R. (1976). The sickness impact profile: conceptual formulation and methodology for the development of a health status measure. International Journal of Health Services, 6(3), 393-415.
Dijkstra, A., Hakverdioğlu, G., Muszalik, M., Andela, R., Korhan, E. A., & Kornatowska, K. (2015). Health related quality of life and care dependency among elderly hospital patients: an international comparison. The Tohoku Journal 0f Experimental Medicine, 235, 193-200.
Euro QoL Group. (1990). Euro QoL - a new facility for the measurement of health-related quality of life. Health Policy, 16(3), 199-208.
Ferrans, C. E. (1992). Conceptualizations of quality of life in cardiovascular research. Progress in Cardiovascular Nursing, 7(1), 2-6.
Nanda U., McLendon, P. M., Andresen, E. M., & Armbrecht, E. (2003). The SIP68: an abbreviated sickness impact profile for disability outcomes research. Quality of Life Research, 12(5), 583-595.
Orem, D. E. (1995). Nursing: concepts of practice (5th ed.). Missouri: Mosby-Year Book.
Tobis, S., Jaracz, K., Kropinska, S., Talarska, D., Hoe, J., …, & Suwalska, A. (2021). Needs of older persons living in long-term care institutions: on the usefulness of cluster approach. BMC Geriatrics, 21(316), 1-8.
Ware, J. E., & Sherbourne, C. D. (1992). The MOS 36-item short-form health survey (SF-36). I. Conceptual framework and item selection. Medical Care, 30(6), 473-483.
World Health Organization. (1996). WHOQOL-BREF introduction, administration, scoring and generic version of the assessment, field trail version. Geneva: World Health Organization.
World Health Organization. (2003). The world oral health report 2003. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว