ความรู้และการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี แผ้วชนะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เทพกัลยา เหมทานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • บุญธิดา เทือกสุบรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความรู้, การปฏิบัติ, การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาล ศึกษาในประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช  จำนวนทั้งหมด 126 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย             1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .73 และ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha เท่ากับ .90  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับสูง ร้อยละ 69.00 มีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 29.40 และระดับต่ำ ร้อยละ 1.60 และมีการปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับสูงและระดับปานกลาง ร้อยละ 97.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ดังนั้นผู้สอนสามารถนำผลการวิจัยไปปรับวิธีการสอนในรายวิชาการพยาบาลที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

คณะกรรมการงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (2567). เอกสารหมายเลข: 103.IC-07 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเรื่องการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-Associated Pneumonia: VAP) ทบทวนครั้งที่ 6 มีนาคม 2567 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางคลินิกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการตระหนักรู้ความปลอดภัยผู้ป่วยสำหรับนักศึกษาพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฬามณี สมใจ, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, และอะเคื้อ อุณหเลขกะ (2564) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติสำหรับการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต. พยาบาลสาร, 48(2), 1-12.

ชฎาพร คงเพ็ชร, จรัสศรี อินทรสมหวัง, และนภาพร เพชรศร. (2561). การปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อขณะฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของนิสิตพยาบาล. วารสารพยาบาล, 67(3), 55-61.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ประภาดา วัชรนาถ, อำภาพร นามวงศ์พรหม, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาบในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารเกื้อการุณ, 22(1), 144-155.

ธนิตตา เลิศลอยกุลชัย. (2564). อุบัติการณ์และสาเหตุของปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 46(2), 121-130.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561. สำนักพิมพ์เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.

AL-Mugheed, K., Bani-Issa, W., Rababa, M., Hayajneh, A. A., Syouf, A. A., Al-Bsheish, M., & Jarrar, M. (2022). Knowledge, practice, compliance, and barriers toward ventilator-associated pneumonia among critical care nurses in Eastern Mediterranean Region:

A systematic review. Healthcare, 10, 852. https://doi.org/10.3390/healthcare10101852

American Association of Critical-Care Nurses. (2005). AACN practice alert: Ventilator associated pneumonia. AACN Advanced Critical Care, 16(1), 105-109.

Araujo, M. S., Medeiros, S. M., Costa, R. R., Coutinho, V. R., Mazzo, A., & Sousa, Y. G. (2021). Effect of clinical simulation on the knowledge retention of nursing students. Acta Paulista de Enfermagem, 34. eAPE000955. https://doi.org/10.37689/acta-ape/2021AO000955

Centers of Disease Control and Prevention. (2024, August 7). Ventilator-associated pneumonia basics. https://www.cdc.gov/ventilator-associated-pneumonia/about/index.html

Drvran, E., & Karaca, A. (2021). Knowledge level of nursing students on nosocomial infection. Erciyes Medical Journal, 43(2), 135-141. https://doi.org/10.14744/etd.2019.19615

Kalanuria, A. A., Zai, W., & Mirski, M. (2014). Ventilator-associated pneumonia in the ICU. Critical Care, 18, 1-8. https://doi.org/10.1186/cc13775

Kalyan, G., Bibi, R., Kaur, R., Bhatti, R., Kumari, R., Rana, R., Kumari, R., Kaur, M., & Kaur, R. (2020). Knowledge and practices of intensive care unit nurses related to prevention of ventilator associated pneumonia in selected intensive care units of a tertiary care centre, India. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 25(5), 369-375. https://doi.org/10.4103/ijnmr.IJNMR_128_18

Li, Y., Liu, C., Xiao, W., Song, T., & Wang, S. (2020). Incidence, risk factors, and outcomes of ventilator-associated pneumonia in traumatic brain injury: A meta-analysis. Neurocritical Care, 32, 272-285. https://doi.org/10.1007/s12028-019-00773-w

Lin, H. L., Lai, C. C., & Yang, L. Y. (2014). Critical care nurses' knowledge of measures to prevent ventilator-associated pneumonia. American Journal of Infection Control, 42(8), 923-925. https://doi.org/10.1016/j.ajic.2014.05.012

Luckraz, H., Manga, N., Senanayake, E. L., Abdelaziz, M., Gopal, S., Charman, S. C., Giri, R., Oppon, R., & Andronis, L. (2018). Cost of treating ventilator-associated pneumonia post cardiac surgery in the National Health Service: Results from a propensity-matched cohort study. Journal of the Intensive Care Society, 19(2), 94-100. https://doi.org/10.1177/1751143717740804

Luo, W., Xing, R., & Wang, C. (2021). The effect of ventilator-associated pneumonia on the prognosis of intensive care unit patients within 90 days and 180 days. BMC Infectious Diseases, 21, 2-7. https://doi.org/10.1186/s12879-021-06383-2

Nseir, S., Martin-Loeches, I., Povoa, P., Metzelard, M., Cheyron, D. D., Lambiotte, F.,…. & Rouze, A. (2021). Relationship between ventilator-associated pneumonia and mortality in COVID-19 patients a planned ancillary analysis of the coVAPid cohort. Critical Care, 25, 1-11. https://doi.org/10.1186/s13054-021-03588-4

Pawlik, J., Tomaszek, L., Mazurek, H., & Medrzycka-Dabrowska, W. (2022). Risk factors and protective factors against ventilator-associated pneumonia-A single-center mixed prospective and retrospective cohort study. Journal of Personalized Medicine, 12, 1-14. https://doi.org/10.3390/jpm12040597

Prapazian, L., Klompas, M., & Luyt, C-E. (2020). Ventilator‑associated pneumonia in adults: A narrative review. Intensive Care Medicine, 46, 888-906. https://doi.org/10.1007/s00134-020-05980-0

Schwartz, N. E. (1975). Nutritional knowledge, attitude, and practice of high school graduates. Journal of the American Dietetic Association, 66(1), 28-31.

Semet, M. (2023). The ongoing challenge of ventilator-associated pneumonia: Epidemiology, prevention, and risk factors for mortality in a secondary care hospital intensive care unit. Infection Prevention in Practice, 5(4), 1-7. https://doi.org/10.1016/j.infpip.2023.100320

Shabatura, J. (2024, July 19). Using Bloom’s taxonomy to write effective learning outcomes. https://tips.uark.edu/using-blooms-taxonomy/

Wu, D., Wu, C., Zhang, S., & Zhong, Y. (2019). Risk factors of ventilator-associated pneumonia in critically ill patients. Frontiers Pharmacology, 10, 482. https://doi.org/10.3389/fphar.2019.00482

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25