ประสิทธิผลของแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพของประชาชนจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ วรสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • โสมสิริ รอดพิพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพรพบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, แนวทางการเตรียมความพร้อม, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ

บทคัดย่อ

          การเตรียมความพร้อมประชาชนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมและศึกษาผลของแนวทางการเตรียมความพร้อมของประชาชนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ G* power Test family กำหนดค่า Effect size .50, a=.05, b= .95 จำนวนกลุ่มละ 88 คน ประกอบด้วยกลุ่มอายุ 50- 59 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว และกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

          ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อม 5 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ โดยมี 4 องค์ประกอบหลักที่ส่งเสริมให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ  คือ 1) การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน 2) การมีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของตนเอง 3) การจัดการสุขภาพตนเอง 4) ความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการดูแลตนเอง การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานมีความพร้อมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัวมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก

           สรุป แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ประชาชนที่จะเป็นผู้สูงอายุให้มีทักษะในการปฏิบัติตนเอง สามารถจัดการตนเองได้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์สู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพต่อไป

References

จิราวรรณ ชาลี. (2561). การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชากรในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง และคณะ. (2563). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 53-62.

ชนัญญา ปัญจพล. (2558). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร, อลงกรณ์ ฉลาดสุข, พิมพ์ชนก เกื้อรอด, ภัทร อภิวัฒนกุล และ ขวัญกมล ถนัดค้า (2561). ประมาณการค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพในอีก 15 ปีข้างหน้า: รายงานการศึกษา. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

พรทิพย์ สารีโส. (2560). สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง : เขตเทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 85-95.

รติมา คชนันน์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฎร.

วชากร นพนรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th

Chodzko-Zajko WJ, Proctor DN, Fiatarone Singh MA, Minson CT, Nigg CR, Salem GJ, et al. (2009). Exercise and physical activity for older adults. Med Sci Sports Exerc, 41(7), 1510-1530.

Herrman H, Stewart DE, Diaz-Granados N, Berger EL, Jackson B, Yuen T. (2021). What is resilience? Can J Psychiatry, 66(5), 417-420.

Liu Y, Zhang J, Bao G, Huang Y, Zou Y, Zhang L, et al. (2021). The influence of health-promoting lifestyles on health-related quality of life among rural elderly in China. BMC Public Health, 21(1), 65.

Skulmoski GJ, Hartman FT, Krahn J. (2020). The Delphi method for graduate research. J Inf Technol Educ Res, 6(2), 1-21. https://doi:10.28945/3676

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25