การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุริยา ฟองเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภรา หิมานันโต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ฐิติพร ยอดประเสริฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
  • สุนันท์ สินซื่อสัตย์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแล ของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน 2) ประเมินการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุฯ 3) มีส่วนร่วมในการดูแลและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุฯ และการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล 4) ร่วมวางแผนหารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุฯ และ    5) ประเมินแนวทางการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุฯ 58 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน 1.รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นหลังจากศึกษาสถานการณ์ 2.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดังนี้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และ ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้อง= 0.86 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่า Cronbach’s alpha = 0.82 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจำแนกวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 001) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ของผู้ดูแลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 001) การศึกษาและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (LTC Ban Suan Model) พบว่ารูปแบบที่มีความเหมาะสม ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม 1) กิจกรรมการพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยครอบครัว 2) กิจกรรมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเพื่อนบ้าน 3) กิจกรรมการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้นำชุมชน และ 4) กิจกรรมการประสานความช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยภาคีเครือข่าย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol/

ทิพยาภา ดาหาร และเจทสริยา ดาวราช. (2560).การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2(3), 42-54.

ปภาดา ชมภูนิตย์ พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ รัชดาภรณ์ แม้นศิริ. (2567). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลจอมทองอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 42 (2), 1-14.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). การพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สถิติประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Colaizzi, Paul F. (1978). Psychological research as the phenomenologist views it. In Ronald S. Valle & Mark King (eds.)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A. et al. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149–1160. https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149

Jazayeri, E., Kazemipour, S., Hosseini, S.R., Radfar, M., (2023). Quality of life in the elderly: A community study. Caspian J Intern Med, 14(3): 534-542.https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC10379806/pdf/cjim-14-534.pdf doi: 10.22088/cjim.14.3.543

Lunenburg, F. C. & Ornstein, A. C. (1996). Educational administration: Concept and practice (2nd ed.). Belmont, CA: Wadsworth.

Venkatapuram, S., Thiyagarajan, J.A., (2023). The Capability Approach and the WHO Healthy Ageing Framework (for the UN Decade of Healthy Ageing) Age Ageing. Oct 30;52(Suppl 4):iv6–iv9. doi: 10.1093/ageing/afad126. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC10615052/

World Health Organization. (2015). World Report on Ageing and Health. Geneva. https://www.who.int/publications/i/item/9789241565042

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25