การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม, อัตราการกรองของไตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี วิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และ 3) ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 21 คน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 21 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพยาบาล และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม ซึ่งมีการตรวจสอบค่าความตรงตามเนื้อหาด้วยวิธี CVI เท่ากับ 0.94 และตรวจสอบความความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย นโยบายและทรัพยากร ระบบการพยาบาลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย การออกแบบการดูแลผู้ป่วย การสนับสนุนการพยาบาล และระบบข้อมูลทางการพยาบาลโรคไตเรื้อรัง สำหรับผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล ความพึงพอใจต่อรูปแบบ และความพึงพอใจต่อการพยาบาล อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม และอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยหลังใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนก เจริญพันธ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 โรงพยาบาลราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 64-73.
จตุพร จันทะพฤกษ์ และลักขนา ชอบเสียง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 1-2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 243-258.
จันทร์เพ็ญ ประโยงค์, กชกร พุทธา, และวินัย กล่อมแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรังในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1035-1043.
ชญาภา วิรพิทยาภรณ์, พรทิพย์ มาลาธรรม และนพวรรณ พินิจขจรเดช. (2564). ความสััมพัันธ์ระหว่างความรู้ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 27(1), 77-91.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2560). บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 154-159.
พิมลรัตน์ ตั้งสุจริตธรรม, ธีรพร สถิรอังกูร, และสุรศักดิ์ ชัยวัฒนตระกูล. (2564). ผลของรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองต่อความปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. Rama Nursing Journal, 27(1), 1-19.
วรรณทนา ศุภสีมานนท์, ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, และวราภรณ์ คงสุวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติ และผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. Journal of Nursing Science, 38(4), 52-63.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2565). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2565 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
Chen, Y., Chen, L., Kao, Y. H., Chu, T. S., Huang, T. S., & Ko, W. J. (2019). The over-optimistic portrayal of life-supporting treatments in newspapers and on the Internet: a cross-sectional study using extra-corporeal membrane oxygenation as an example. BMC
Medical Ethics, 15(1), 59. https://doi.org/10.1186/1472-6939-15-59
Fang, Q., Ma, J., Li, J., Zhu, M., & Zhang, M. (2021). The Effect of the Chronic Disease Management Program for Patients with Chronic Kidney Disease: A Meta-Analysis. Journal of Healthcare Engineering, 2021, 1-16. https://doi.org/10.1155/2021/991802
Kulathunga, S. M. S. & Tissera, W. (2022). Effectiveness of chronic kidney disease management program in upcountry Sri Lanka. Sri Lanka Journal of Medicine, 31(1), 4-10. https://doi.org/10.4038/sljm.v31i1.269
Luyckx, V. A., Tonelli, M., & Stanifer, J. W. (2020). What's new in KDIGO 2020 Clinical Practice Guideline on Diabetes Management in Chronic Kidney Disease? Annals of Translational Medicine, 8(23), 1599. https://doi.org/10.21037/atm-20-2841
Peeters, M. J., van Zuilen, A. D., van den Brand, J. A., Bots, M. L., van Buren, M., ten Dam, M. A., Kaasjager, K. A., Ligtenberg, G., Sijpkens, Y. W.,
Sluiter, H. E., van de Ven, P. J., Vervoort, G., Vleming, L. J., Blankestijn, P. J., & Wetzels, J. F. (2014). Nurse practitioner care improves renal outcome in patients with CKD. Journal of the American Society of Nephrology, 25(2), 390–398. https://doi.org/10.1681/ASN.2012121222
Qian, Y., Yuan, W. L., Mei, Q., Chen, X. Y., & Chen, X. M. (2021). The effect of shared decision‐making interventions on treatment adherence and clinical outcomes for patients with chronic kidney disease: A systematic review and meta‐analysis. nternational Journal of Nursing Practice, 27(5), e13001. https://doi.org/10.1111/ijn.13001
Wagner, E. H., Austin, B. T., Davis, C., Hindmarsh, M., Schaefer, J., & Bonomi, A. (2001). Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Affairs, 20(6), 64-78. https://doi.org/10.1377/hlthaff.20.6.64
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว