การถอดบทเรียนกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนเลิศสุขสม

ผู้แต่ง

  • สุภาพ ไทยแท้ ไทยแท้ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อารยา เชียงของ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการสุขภาวะชุมชน, ชุมชนต้นแบบ, บริบทชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลลัพธ์สุขภาวะชุมชนต้นแบบในบริบทชุมชนเมือง 2) กระบวนการมีส่วนร่วมจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนเลิศสุขสม และ 3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่สนับสนุนความสำเร็จสู่ชุมชนสุขภาวะ เลือกศึกษาชุมชนเลิศสุขสมซึ่งเป็นต้นแบบสุขภาวะบริบทชุมชนเมือง โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน  กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชน และสมาชิกชุมชน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 276 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 28 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้เกณฑ์ และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามสุขภาวะ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลลัพธ์สุขภาวะโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M= 3.61, SD = 0.39) 2) กระบวนการจัดการสุขภาวะชุมชนต้นแบบ ประกอบด้วย 3 กลไก ได้แก่ 1) กลไกบริหารจัดการต้นทางสู่พื้นที่สุขภาวะ 2) กลไกบริหารจัดการระหว่างทางสู่พื้นที่สุขภาวะ 3) กลไกบริหารจัดการปลายทางสู่พื้นที่สุขภาวะ และ 3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่สนับสนุนความสำเร็จสู่ชุมชนสุขภาวะ ได้แก่ ทุนทางสังคม ภาวะผู้นำของแกนนำชุมชน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ  ซึ่งแนวทางพัฒนาการจัดการสุขภาวะชุมชนจึงควรส่งเสริมทุนทางสังคม ภาวะผู้นำของแกนนำชุมชน และสร้างความร่วมมือจากชุมชน ภาคีเครือข่าย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญ  

References

กุลธิดา จันทร์เจริญ และเนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2556). การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.

จิราพร ไชยเชนทร์, ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ และไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2560). “การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์.” Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2039-2055.

นฤภร ไชยสุขทักษิณ, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, และวันชัย ธรรมสัจการ. (2562). ผู้นำต้นแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 99-114.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.

พิชชา บัวแย้ม และคณะ. (2560). การดำรงอยู่ของทุนทางสังคมในชุมชนลุ่มน้ำมูลตอนล่าง: กรณีศึกษาตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปากรมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 664-681.

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2556). คู่มือการจัดทำโครงการชุมชนสุขภาวะ ประจำปี 2557. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปาริชาติ เทพอารักษ์ และ อมราวรรณ ทิวถนอม. (2550). สุขภาวะของคนไทย จุดเริ่มต้นของ ความอยู่เย็นเป็นสุข. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 44(1), 12 – 17.

ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ .(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ, วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 2(13), 1-12.

มุทิตา ค้าขาย. (2557). การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2546). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สำแดงสาร, และดลปภัฏ ทรงเลิศ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 231-238.

เริงวิชญ์ นิลโคตร, และนพพร จันทรนำชู. (2561). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้ชุมชนแนวปฏิบัติเพื่อสุขภาวะชุมชน. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(1), 167-180.

วิทวัส ช้างศร, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย และภัทรา วยาจุต .(2566). การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1315-1328.

สนธยา พลศรี. (2542). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

สมพาณร์ วงษ์จู .(2565). ทุนทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(1), 446-459.

Wiseman, J., & Brasher, K. (2008). Community wellbeing in an unwell world: Trends, challenges, and possibilities. Journal of Public Health Policy, 29, 353-366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25