การพัฒนารูปแบบชุมชนปลอดบุหรี่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนปลอดบุหรี่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี โดยศึกษาตำบลทุ่งพลา คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการจัดเวทีเสวนา และผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนการดำเนินการ พัฒนาชุมชนปลอดบุหรี่จำแนกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมโครงการวิจัย ขั้นดำเนินการ และขั้นการประเมินผล การพัฒนารูปแบบชุมชนปลอดบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย ในขั้นตอนที่ 1 พบครัวเรือนในตำบล ทุ่งพลา ที่มีสมาชิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 73.18 มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 25.88 ขั้นตอนที่ 2 มีการ ดำเนินการจัดและควบคุมสถานที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตาม กฎหมาย บำบัดรักษาผู้สูบบุหรี่ และป้องกันการสูบบุหรี่ใน ชุมชนแบบบูรณาการ และขั้นตอนที่ 3 มีการสรุปผลประเมิน ผลการปฏิบัติงานผ่านเวทีเรื่องเล่า “สิ่งดีๆ กับชีวิตและ ชุมชน” การติดตามผลระยะเวลา 6 เดือน พบว่า มีผู้ที่เลิก บุหรี่ได้ 5 คน (ร้อยละ 22.72) และมีสถานที่สาธารณะ ปลอดควันบุหรี่เพิ่มขึ้น ได้แก่ มัสยิด วัด องค์การบริหาร ส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาคาร เอนกประสงค์ ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
The development of smoke free community model in Khokpho district, Pattani province: A participatory action research.
Kaewnawee, J., Kalampakorn, S., Nilmanat, K., & Kankaew, P.
This participation action research aimed to develop a smoke free community model in KhokPho district, Pattani Province. Purposive sampling was used to recruit 30 participants. Data collection methods were in-depth interview, focus group discussion and appreciate approach. Interview guideline was reviewed by 3 experts for content validity. In order to develop a smoke free community, data collection process consisted of 3 phases as the preparation phase, the action phase, and the evaluation phase. Content analysis was employed for data analysis.
The results of the situation analysis in phase I showed that of 1,085 households, 73.18% had smokers. 25.88% of community members aged above 15 are smokers. In phase II, 3 main activities were set, including creating a smoke free zone in public places; supporting smoking cessation; and integrating preventive strategies in a community. In phase III, a project evaluation was conducted through the community storytelling meetings “Good things in life and our community”. Six months evaluation found that 5 participants or 22.72% were able to completely quit smoking. Smoke-free zone in community were expanded to mosque, temple, sub-district administrative organization office, health promoting hospital, community recreation building, community child center, and school.