คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
กองบรรณาธิการใคร่ขอเรียนเชิญสมาชิกของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ และผู้สนใจส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล วิชาชีพการพยาบาล และสุขภาพ เพื่อลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารพยาบาล เรื่องที่ส่งต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และเก็บข้อมูลไม่เกิน 5 ปี
รูปแบบ และหลักเกณฑ์ในการจัดเตรียมต้นฉบับของบทความ
- จัดพิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft word ไม่แบ่งคอลัมน์ ใช้กระดาษ ขนาด A4 บทความมีความยาวไม่เกิน 10 หน้า ใช้ Font AngsanaUPC ขนาด 16 ระยะระหว่างบรรทัดใช้ Single spacing
- ระบุชื่อเรื่อง ชื่อ –นามสกุล ผู้แต่งทุกคน และคำสำคัญ (Keywords) และสถานที่ทำงาน (กรณีไม่ได้ปฏิบัติงานให้ระบุที่อยู่ที่บ้าน)ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และแหล่งทุนวิจัยที่ได้รับ (ถ้ามี) บทความวิจัย และบทความวิชาการ เนื้อหาในบทคัดย่อ และ Abstract มีความยาวไม่เกิน 250 คำ
3. ชนิดของบทความ บทความวิจัยให้เขียนหัวข้อตามลำดับ ดังนี้ ความสำคัญของปัญหา คำถามการวิจัย/วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ให้ระบุชนิดของการวิจัย ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัยให้ระบุที่มา ลักษณะ ระบบการให้คะแนน และการแปลผล (สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ) การหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย และผลการหาคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และ เอกสารอ้างอิง
บทความวิชาการ ให้มีหัวข้อ ความนำ หัวข้อของเนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
บทความพิเศษ เป็นบทความที่ผู้แต่งซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิได้รับเชิญให้เขียนบทความให้ ไม่กำหนดรูปแบบที่เจาะจง อาจเขียนในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความทั่วไปได้
4. การเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องและการอ้างอิงในเนื้อความ ระบุนาม และปีในวงเล็บให้ตรงกับรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง โดยใช้รูปแบบในระบบของ APA (7th ed.) ค.ศ. 2020 ศึกษาตัวอย่างที่ให้ไว้หรือจากเว็บไซต์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/153329/111738
5. โปรดตรวจสอบต้นฉบับให้เขียนหัวข้อต่าง ๆ และข้อมูลให้ครบถ้วน ใช้คำต่าง ๆ ถูกต้องตามพจนานุกรมไทยและอังกฤษ รวมทั้งคำศัพท์ทางวิชาการ การเขียนประโยคถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ และใช้ระบบการอ้างอิงของ APA (7th ed.)ได้ถูกต้องทั้งการอ้างอิงในเนื้อความ และในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง
6. การส่งไฟล์ต้นฉบับ ให้ส่งบทความต้นฉบับ พร้อมหลักฐานการชำระเงินและใบนำส่งต้นฉบับ เข้าทางonline ในระบบ ThaiJO ได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN หรือ ส่งเป็นเอกสารให้ส่งต้นฉบับจำนวน 3 ชุด พร้อมไฟล์ในแผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (CD) และกรอกแบบฟอร์มการส่งต้นฉบับให้สมบูรณ์ และหลักฐานการชำระเงิน ส่งไปยัง บรรณาธิการวารสารพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เมื่อฝ่ายวารสาร รับเรื่องแล้ว บรรณาธิการประจำฉบับจะจัดให้มี ผู้พิชญพิจารณ์ (Peer reviewer) 3 ท่านต่อบทความ อ่านและประเมินคุณภาพ และสรุปผลการประเมินส่งให้ผู้แต่งแก้ไข เมื่อท่านแก้ไขเสร็จแล้ว ให้ส่งไฟล์เข้าทางระบบ ThaiJO ต่อไป
ท่านที่ต้องการหนังสือรับรองการลงตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลโปรดแจ้งเมื่อส่งต้นฉบับ ทางบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองให้เมื่อผ่านการประเมินจากผู้พิชญพิจารณ์ ครบแล้ว
ตัวอย่างของการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องตามระบบ APA (7thed.)
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). คู่มือ การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2556. ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.
กรรณิการ์ สุวรรณโคต. (2551). การอภิปรายผลการวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์ทางการพยาบาล. ในประมวลสาระชุดวิชาวิทยานิพนธ์ 3 หน่วยที่ 10-11 (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 10-1-10-64). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552). จิตวิญญาณ: มิติหนึ่งของการพยาบาล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัชพร กลีบประทุม. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่สำหรับผู้สูบบุหรี่ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุปาณี เสนาดิสัย, รักชนก คชไกร, จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์, อัครเดช เกตุฉ่ำ, เสาวรส มีกุศล, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, เวหา เกษมสุข, สุภาภัค เภตราสุวรรณ, และนันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ. (2552). การสำรวจสภาพ แวดล้อมการปฏิบัติงานพลังบวกของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารพยาบาล, 67(4), 1-10.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556. http:// www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb
อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (2557). การพยาบาลบุคคลที่มีโรคอารมณ์แปรปรวน. ใน อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, ประภา ยุทธไตร, พวงเพชร เกษรสมุทร, และวารีรัตน์ ถาน้อย (บ.ก.). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ (น. 375 – 424). อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.
American Psychological Association. (2020). Publication manual of the American Psychological Association (7th ed.). https://doi.org/10.1037/0000165-000
Burns, N., & Grove, S. K. (2007). Understanding nursing research: Building an evidence-based practice (4th.ed.). Saunders Elsevier.
Keane, A., Houldin, A. D., Allison, P. D., Jepson, C., Shults, J., Nuamah, I. F., Brennan, A. M. W., Lowery, J., & McCorkle, R. (2002). Factors associated with distress in urban residential fire survivors. Journal of Nursing Scholarship, 34(1), 11– 17. https://doi.org/10.1111/j.1547-5069.2002.00011.x
King, I. M. (1995). Theory of goal attainment. In M. A. Frey, & C. Sieloft (Eds.). Advancing King’s system framework and theory of nursing (pp. 23-32). SAGE.
Klein, H. J., Becker, T. E., & Meyer, J. P. (Eds.).2009). Commitment in organization. Routledge.
Nasae, T. (2007). Ethical dilemmas, ethical decision making, and outcomes experienced by head nurses in regional hospitals, Southern Thailand [Unpublished doctoral dissertation]. Prince of Songkla University.
Roussel, L. (Ed.). (2006). Management and leadership for nurse administrators (4th ed.). Jone & Bartlett.
Sherman, R. O., Bishop, M., Eggenberger, T., & Karden, R. (2007). Development of a leadership competency model. Journal of Nursing Administration, 37(2), 85-94.