เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • การพิมพ์ต้นฉบับบทความ ระยะระหว่างบรรทัด ใช้ single-spaced ใช้อักษรชนิด AngsanaUPC ขนาด 16-point
    การเน้น ไม่ใช้การขีดเส้นใต้ตัวอักษร ให้ใช้ตัวหนา หรือตัวเอน
    รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ ให้แทรกในเนื้อหาที่อธิบาย ไม่ไว้ท้ายบทความ
  • บทความจัดพิมพ์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ไม่แยกคอลัมภ์ ขนาดหน้า A4
    มีความยาวไม่เกิน 10 หน้า
  • 1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มส่งต้นฉบับให้ครบถ้วนและส่งพร้อมไฟล์บทความและหลักฐานการชำระเงิน เข้าในระบบ ThaiJO
    พร้อมการsubmission
    บทความวิจัยที่เป็นงานวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ให้ส่งไฟล์บทคัดย่อและAbstract ด้วย
    2. ผู้เขียนอย่างน้อย 1 ชื่อต้องเป็นพยาบาลที่เป็นสมาชิกสามัญของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ผู้ที่ประสงค์สมัครเป็นสมาชิกสมัครได้ที่สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ
    ผู้เขียนที่ไม่ใช่พยาบาลอยู่ในดุลยพินิจของบรรณาธิการในการพิจารณาเนื้อหาให้อยู่ในขอบเขตของวารสารพยาบาล
    3. เรื่องที่ส่งเข้าขอลงตีพิมพ์ในวารสารพยาบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมการส่งบทความจำนวน 4,000.00 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อเรื่อง ให้แก่สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ สำหรับการดำเนินงานของวารสารพยาบาล โดยจ่ายเป็นเงินสดที่ฝ่ายจัดการวารสารพยาบาล หรือ โอนเงินเข้าชื่อบัญชี สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ เลขที่บัญชี 052-2-033286 ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร และส่งหลักฐานการโอนเงินไปยังฝ่ายวารสาร สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ
    4. โปรดปฏิบัติตาม คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับโดยเคร่งครัด
  • บทความที่ส่ง ต้องไม่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใด ๆ มาก่อน ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                                                                         คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

กองบรรณาธิการใคร่ขอเรียนเชิญสมาชิกของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ และผู้สนใจส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล  การปฏิบัติการพยาบาล  วิชาชีพการพยาบาล และสุขภาพ เพื่อลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารพยาบาล  เรื่องที่ส่งต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และเก็บข้อมูลไม่เกิน 5 ปี

รูปแบบ และหลักเกณฑ์ในการจัดเตรียมต้นฉบับของบทความ

            1.จัดพิมพ์ต้นฉบับโดยโปรแกรม Microsoft word  ไม่แยกคอลัมภ์  ใช้กระดาษ ขนาด A4  มีความยาวไม่เกิน 10 หน้า ใช้ Font AngsanaUPC ขนาด 16  ระยะระหว่างบรรทัดใช้ Single spacing

  1. ระบุชื่อเรื่อง ชื่อ -สกุล ผู้เขียนทุกคน และคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ   และสถานที่ทำงาน (กรณีไม่ได้ปฏิบัติงานให้ระบุที่อยู่ที่บ้าน) และแหล่งทุนวิจัยที่ได้รับ(ถ้ามี) บทความวิจัย และบทความวิชาการ ต้องมีเนื้อหาของบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract ความยาวไม่เกิน 250 คำ    
  2. บทความวิจัย ให้เขียนตามหัวข้อดังนี้ ความสำคัญของปัญหา คำถามการวิจัย/วัตถุประสงค์การวิจัย  สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)  กรอบแนวคิดของการวิจัย  วิธีดำเนินการวิจัย ให้ระบุชนิดของการวิจัย ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือวิจัยให้ระบุที่มา  ลักษณะ ระบบการให้คะแนน และการแปลผล (สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ) การหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย และผลการหาคุณภาพ   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย    การอภิปรายผลการวิจัย   ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง  บทความวิชาการ ให้มีหัวข้อ ความนำ  หัวข้อของเนื้อหา       บทสรุป และเอกสารอ้างอิง   ส่วนบทความพิเศษ เป็นบทความที่ผู้แต่งได้รับเชิญให้เขียนบทความ ไม่กำหนดรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง 
  1. การอ้างอิงในเนื้อความ ระบุนาม และปีในวงเล็บ ในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง ใช้ระบบของ APA (6thed.) ค.ศ. 2010 ศึกษาตัวอย่างที่ให้ไว้ หรือจากหนังสือ Publication Manual of the American Psychological  Association (6thed.)

โปรดตรวจสอบต้นฉบับให้เขียนหัวข้อต่าง ๆ และให้ข้อมูลครบถ้วน  ใช้คำต่าง ๆ ถูกต้องตามพจนานุกรมไทย และอังกฤษ  รวมทั้งคำศัพท์ทางวิชาการ การเขียนประโยคถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ และใช้ระบบการอ้างอิงของ  APA ได้ถูกต้องทั้งการอ้างอิงในเนื้อความ และในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง

  1. การส่งต้นฉบับกระทำได้ 2 วิธี คือ  1) ส่งเป็นเอกสาร จำนวน 3 ชุด พร้อมไฟล์ บันทึกบทความลงในแผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (CD) และกรอกแบบฟอร์มการส่งต้นฉบับให้สมบูรณ์ ส่งไปยัง  บรรณาธิการวารสารพยาบาล              สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ  เลขที่ 21/12  ถนนรางน้ำ เขตราชเทวี  กรุงเทพมหานคร 10400  หรือ                  2)  ส่งไฟล์ต้นฉบับ online เข้าในระบบ ThaiJO  ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TJN/index

            เมื่อฝ่ายวารสาร รับเรื่องแล้ว กองบรรณาธิการจะจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิชญพิจารณ์(Peer reviewer) อ่านต้นฉบับ  2 ท่านต่อบทความ เพื่อประเมินคุณภาพ ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง  และสรุปผลการพิจารณา จากนั้นจะแจ้งผลการการประเมินคุณภาพให้ผู้เขียนทราบเพื่อการปรับปรุง เมื่อท่านได้ปรับปรุงเสร็จแล้ว และส่งคืนบทความที่แก้ไขแล้วไปยังสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ บรรณาธิการจะทำการตรวจสอบรูปแบบให้ถูกต้องตามเกณฑ์ของวารสารพยาบาล และแจ้งให้    ท่านทราบ และดำเนินการปรับหากมีการแก้ไข และออกหนังสือรับรองการลงตีพิมพ์บทความในวารสารพยาบาลในฉบับที่กำหนดให้    ส่วนผู้ที่ส่งไฟล์ต้นฉบับ online เข้าในระบบ ThaiJO สามารถติดตามความก้าวหน้าได้ในระบบ

                      ตัวอย่างของการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องตามระบบ APA (6thed.)

 กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ.  (2556). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2556. 

           กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

กรรณิการ์ สุวรรณโคต. (2551).  การอภิปรายผลการวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์ทางการพยาบาล. ในประมวลสาระชุดวิชา

         วิทยานิพนธ์ 3 หน่วยที่ 10-11 (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 10-1-10-64). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552).  จิตวิญญาณ: มิติหนึ่งของการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่1).  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง

         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  

ศิริวรรณ เผ่าจินดา, พ.ท.หญิง. (2552).  ความพึงพอใจในงานของพยาบาลในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (วิทยานิพนธ์ปริญญา

           มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).  มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.

สุปาณี เสนาดิสัย, รักชนก คชไกร, จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์, อัครเดช เกตุฉ่ำ, เสาวรส มีกุศล, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล,. . . นันทพันธ์   

           ชินล้ำประเสริฐ. (2552). การสำรวจสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานพลังบวกของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. 

           วารสารพยาบาล,  67(4), 1-10.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). TQA ถึงเส้นชัยก่อนใคร เล่ม1 (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552).  ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556.  

          สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2552,  จาก  https:// www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (2557).  การพยาบาลบุคคลที่มีโรคอารมณ์แปรปรวน.  ใน อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, ประภา ยุทธไตร, 

         พวงเพชร เกษรสมุทร, และวารีรัตน์ ถาน้อย (บ.ก.). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ (น. 375 - 424).  กรุงเทพมหานคร:

         อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.

American Psychological Association. (2010). Publication manual of the American Psychological

         Association(6th ed.).  Washington, DC:  Author.

Bernstein, M. (2002, August 16).  10 tips on writing the living web.  A list apart: For people who make websites.

         Article 149.  Retrieved  May 2, 2006,  from https://www.alistapart.com/articles/writeliving

Burns, N., &  Grove, S. K. (2007). Understanding nursing research: Building an evidence-based practice

          (4th ed.).  St. Louis:  Saunders Elsevier.   

Fotoohabadi, M. R., Tully, E. A.,  &  Galea, M. P. (2010).  Kinematics of rising from a chair: Image-based

         analysis of the sagittal hip-spine movement pattern in elderly people who are healthy. Physical

         Therapy, 90(4), 561-571. doi: 0.2522/ptj.20090093

King, I. M. (1995).  Theory of goal attainment.  In  M. A. Frey, & C. Sieloft  (Eds.).  Advancing King’s system

          framework and theory of nursing (pp. 23-32).  London: SAGE.

Klein, H. J., Becker, T. E., &  Meyer, J. P. (Eds.).(2009).  Commitment  in organization. New York: Routledge.

Nasae, T. (2007). Ethical dilemmas, ethical decision making, and outcomes experienced by head nurses in

          regional hospitals, Southern Thailand (Unpublished doctoral dissertation).  Prince of Songkla

          University, Thailand.

Roussel, L. (Ed.). (2006).  Management and leadership for nurse administrators (4th ed.).  Boston:  Jone &

          Bartlett.

Sherman, R. O., Bishop, M., Eggenberger, T.,  &  Karden, R. (2007).  Development of a leadership

          competency modelJournal of Nursing Administration, 37(2), 85-94.