ผลของการรณรงค์เรื่องพิษภัยบุหรี่ในอาสาสมัครและผู้นำชุมชน โดยชมรม ผู้ไร้กล่องเสียง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรณรงค์ของชมรมผู้ไร้กล่องเสียงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในการให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่แก่อาสาสมัครและผู้นำชุมชน ในศูนย์สุขภาพชุมชน ต่อความรู้เรื่องโทษภัยบุหรี่และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดยการประเมินความรู้โทษพิษภัย บุหรี่ ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ก่อนและหลังการ ให้ความรู้ การให้กลุ่มตัวอย่างได้เห็นผลกระทบของบุหรี่ โดยผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง ที่สามารถสื่อสารได้จริง การ บรรยายโทษพิษภัยบุหรี่โดยแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้าน หู คอ จมูก และพยาบาลวิชาชีพจากคลินิกอดบุหรี่ ระยะเวลาในการบรรยาย กลุม่ ละ 3 ชั่วโมง ระยะเวลาการ ดำเนินโครงการ คือ ตุลาคม 2554-กันยายน 2555
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่อง โทษภัยบุหรี่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 82 ที่สูบบุหรี่จำนวน 7 คน สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จำนวน 6 คน ลดปริมาณการสูบลง 1 คน และมีความพยายามที่ จะเลิกสูบบุหรี่ต่อไป กลุ่มตัวอย่างทั้งที่สูบบุหรี่และไม่สูบ บุหรี่ เมื่อทราบถึงโทษพิษภัยของบุหรี่ที่แท้จริง ได้สัมผัสกับ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงจริงๆ ส่งผลให้เกิดความ ตระหนักถึงโทษพิษภัยของบุหรี่มากขึ้น ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ อยากให้ข้อมูลโทษพิษภัยบุหรี่และการให้คำแนะนำในการ เลิกสูบบุหรี่ในชุมชนของตนเองมากขึ้น ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่มี แรงจูงใจที่จะเลิกสูบบุหรี่มากขึ้น
Effects of a cigarette danger campaign for village health volunteers and community leaders delivered by Laryngectomy Club, Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province.
Prithaveepong, T., & Pongjunyakul, A.
The objective of this study was to examine effects of a cigarette dangers campaign for village health volunteers and community leaders delivered by the Laryngectomy Club. One hundred participants were invited to join the program at the Sunpasithiprasong Hospital, Ubon Ratchathani province. This study was conducted from October 2011 to September 2012. Laryngectomy patients from Sunpasithiprasong Hospital had conducted the public campaign activities including, talking to laryngectomy patients about cigarette smoke history, and attending a 3-hour discussion with the EENT specialist and registered nurses from smoking cessation clinic, Sunpasithiprasong Hospital. All participants were asked to complete the pretest and posttest questionnaires.
Results reveal that participants gained knowledge about dangers of cigarette smoke. In addition, 6 out of 7 participants, who were current smokers, quitted smoking for at least one month and the other one could reduce numbers of cigarettes. All participants realized that the public campaign from laryngectomy patients about the dangers of cigarette smoke could impress them. Non-smoking participants would like to share these essential information to other people in their communities. For current smokers, they were impressed and had high motivation to quit smoking.