การช่วยเลิกบุหรี่แบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ในคลินิกโรคเรื้อรัง

Main Article Content

บุษริน เพ็งบุญ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ การช่วยเลิกบุหรี่แบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จใน คลินิกโรค เบาหวาน คลินิกโรคความดันโลหิตสูง คลินิก วัณโรค และคลินิกอายุรกรรม โดยมีรูปแบบการให้คำปรึกษา รายบุคคล รายกลุ่ม เหมือนกับที่ดำเนินงานในคลินิกอด บุหรี่ ยกเว้นการติดตามหลังบำบัดจะให้บริการ เมื่อผู้ป่วย มาพบแพทย์ทุกครั้ง และสร้างแนวร่วมการช่วยเลิกบุหรี่ โดยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นผู้ชักชวนบุคคลในครอบครัวให้ ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ สูบบุหรี่ทุกคนที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน คลินิก โรคความดันโลหิตสูง คลินิกวัณโรค และคลินิกอายุรกรรม ในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 รวบรวมข้อมูลโดยแบบ บันทึกการบำบัดช่วยเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square test

ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จของ การช่วยเลิกบุหรี่แบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จใน คลินิกโรคเรื้อรัง ในปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556 เท่ากับร้อยละ 44.8 และร้อยละ 63.8 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลิกบุหรี่สำเร็จของคลินิกอดบุหรี่ ในเวลาเดียวกัน คือ ร้อยละ 33.3 และร้อยละ 32 ตามลำดับ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีคนในครอบครัวสูบบุหรี่สามารถชักชวน ให้คนในครอบครัวลดปริมาณการสูบบุหรี่ ทำบ้านปลอด บุหรี่ได้ คิดเป็นร้อยละ 43.7 และร้อยละ 47.3 ในปีงบประมาณ 2555 และปีงบประมาณ 2556 ตามลำดับ

 

One stop service: Smoking cessation service in out-patient clinic for chronic disease.

Phengboon, B.

The objective of this research was to examine the effectiveness of a one stop service for smoking cessation in a chronic disease clinic. It included individual and group counseling sessions as it was at the tobacco cessation clinic. The additional strategies were the cessation follow-up every visit at the clinic and cessation network among patients with chronic disease and their families. Sample was patients with chronic disease, currently smoking, received health care services for diabetes, hypertension, tuberculosis, and other medical diseases who came to the clinic during the fiscal year of 2012 to 2013. Data collection was performed by using the smoking cessation record form. Percentage, mean, standard deviation, and Chi-square test were employed for data analysis.

Results reveal that successful percentage of quit smoking in patients with chronic diseases were 44.5 and 63.8, respectively. These percentages were significant greater than those at the smoking cessation clinic in the same fiscal year (p < .05). Those patients could also influence their family members to reduce smoking or created their smoke-free houses which were 43.7% and 47.3% respectively.

Article Details

How to Cite
เพ็งบุญ บ. (2016). การช่วยเลิกบุหรี่แบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ในคลินิกโรคเรื้อรัง. Thai Journal of Nursing, 63(1), 43–47. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46768
Section
Research Article