การสำรวจติดตามสภาพฝุ่นควันจากบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูบบุหรี่ และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองในโรงพยาบาล

Main Article Content

ผ่องศรี ศรีมรกต
อิทธิพล พ่ออามาตย์

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสารเคมีที่เกิดจากควันบุหรี่ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูบบุหรี่และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือ สองขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ดำเนินการวิจัยโดย เก็บฝุ่น ควันจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล 8 แห่ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการ ในช่วงเวลาปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมง ด้วยกระดาษกรอง และหลอดเก็บ Volatile Organic Compounds (VOC) เลือกกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่แต่ สัมผัสควันบุหรี่มือสองในขณะปฏิบัติงานแห่งละ 3-8 คน จำนวน 52 คน นำฝุ่นควัน และสารระเหยที่เก็บได้ไป วิเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานของสำนักควบคุม โรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข

ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ผู้สูบบุหรี่และสัมผัส ควันบุหรี่มือสอง มีปริมาณฝุ่นควันและสารเคมีที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ Benzene Toluene Ethyl-Benzene Xylene และ Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แม้จะมีปริมาณ ไม่มาก แต่สามารถสะสมในร่างกายผู้สัมผัสควันบุหรี่ได้

 

Assessing tobacco smoke situation among smokers and secondhand smokers in a hospital.

Srimoragot, P., & Paw-armart, I.

The objective of this cross-sectional survey was to explore composition of Thai cigarette smoke, dust and chemical volume among smokers and second-hand smokers in hospital environment. The study was performed by collecting 8-working hour cigarette smoking dusts from 52 hospital staffs using air pump with fine filter or Charcoal tube to collect the volatile organic compounds (VOC). All samples were analyzed at a standardized Public Health Reference Laboratory, Disease Control Department, Ministry of Public Health.

Results showed that both smokers and second-hand smokers had been contaminated with small amount of cigarette smoking dust. Volatile organic compounds as Benzene, Toluene, Ethyl-Benzene, Xylene, and Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH), were reported in small level. However, these environmental carcinogens could accumulate in human body.

Article Details

How to Cite
ศรีมรกต ผ., & พ่ออามาตย์ อ. (2016). การสำรวจติดตามสภาพฝุ่นควันจากบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูบบุหรี่ และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองในโรงพยาบาล. Thai Journal of Nursing, 63(1), 48–54. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46771
Section
Research Article