สถานการณ์การใช้ยาสูบของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากสรุปรายงานการใช้สารเสพติด

Main Article Content

สุรินธร กลัมพากร
รวีวรรณ วัชรางค์กุล
สุวัฒนา เกิดม่วง

Abstract

ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นมีแนวโนม้ ที่จะทวีความ รุนแรงมากขึ้น โดยพบว่าอายุที่เริ่มสูบของเยาวชนลดน้อยลง ดังนั้น การเฝ้าระวังการใช้ยาสูบของนักเรียนในโรงเรียนจึง มีความสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์การใช้ยาสูบของนักเรียนในโรงเรียน สังกัด สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจาก สรุปรายงานการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา ของสำนักงาน เขตการศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 125 เขตการศึกษา คิด เป็นร้อยละ 72.6 ของเขตการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งรวบรวม ข้อมูลจากโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยข้อมูล ดังกล่าวเป็นรายงานการใช้สารเสพติดของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 5,656,073 คน

ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีนักเรียนที่เกี่ยวข้อง กับสารเสพติดร้อยละ 1.2 ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด พบในนักเรียนชายมากกว่านักเรียนหญิง โดยพบว่าบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่มีการใช้มาก ที่สุด เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลการสูบบุหรี่ โดยพบว่ากลุ่ม นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราการสูบบุหรี่ มากที่สุด (ร้อยละ 4.48 ในเพศชายและร้อยละ 0.10 ในเพศหญิง) โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีนักเรียนสูบบุหรี่ มากที่สุด ในด้านการบำบัด พบว่าโรงเรียนในภาคกลางและ ภาคตะวันออกมีจำนวนผู้ที่กำลังได้รับการบำบัดมากที่สุด

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ การใช้ยาเสพติดในโรงเรียน ให้ข้อมูลการสูบบุหรี่ในทิศทาง เดียวกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระดับประเทศ แม้จะพบ อัตราการสูบบุหรี่น้อยกว่า การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลรายงานสภาพการใช้สาร เสพติดในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และนำมา วิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาแนวทางในการควบคุมการบริโภค ยาสูบในกลุ่มนักเรียนที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

Tobacco use among Thai students, Office of the basic education commission of Thailand: A secondary data analysis from substance use report

Kalampakorn, S., Watcharangkul, W., Kerdmuang, S.

Tobacco use among youth is increasing and becoming to be an important issue. The initiation of tobacco use is at earlier age. Therefore monitoring of tobacco use in school students is crucial. The purpose of this study was to explore the tobacco use situation among school students under the office of basic education commission. The office of basic education commission is the office under Ministry of Education responsible for providing primary and secondary education. Secondary data analysis of the substance use reported by schools all over the country was performed. Each school is required to report the situation of substance use to their educational region office every semester. Of all 172 educational regions, data from 125 regions was obtained for analysis (72.6%). The report of the enrolled students in the 2nd semester, 2009 which included information of 5,656,073 students was used.

Results showed that overall 1.2% of students involved in substance abuse. Tobacco was the most common substances reported. High school students reported highest tobacco use (4.48% in male and 0.10% in female students). Smoking rate was increased by their education level. School students in the northeastern region has highest rate of tobacco use compared to other regions. In terms of cessation, only 11-33% of smokers have received cessation services. School students in the central region have better access to cessation compared to other regions. Students in middle school have received smoking cessation more than those in high school and primary school.

Findings suggest that the substance abuse report by schools provide the information on tobacco use similar to the direction of the national survey. However, it should be noted that the prevalence of smoking reported in this study was lower than the national report. This might due to the differences in definition of the term “smoking” used and the limitation of the report that include only those who are in school system. As youth is the target of tobacco control industry, trend in tobacco use among school students should be closely monitored. Smoking cessation programs that target school students should also be developed before addiction begins. Cessation services could be provided for smokers by teacher, school health personnel, or primary care providers. In addition, the substance use report could be used to evaluate the smoke-free policy implemented nationwide.

Article Details

How to Cite
กลัมพากร ส., วัชรางค์กุล ร., & เกิดม่วง ส. (2016). สถานการณ์การใช้ยาสูบของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากสรุปรายงานการใช้สารเสพติด. Thai Journal of Nursing, 63(1), 55–63. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/46776
Section
Research Article