การพัฒนางานธุรการหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา งานธุรการหอผู้ป่วยโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้า หอผู้ป่วย เจ้าหน้า ที่ธุรการหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย ไอซียู อายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 44 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ความพึงพอใจตอ่ การดำเนินงานธุรการหอผู้ป่วยและแบบ ประเมินผลการดำเนินงานธุรการหอผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย, the Mann-Whitney U test และ the Wilcoxon Signed Rank test
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบงานธุรการหอผู้ป่วยที่ พัฒนาประกอบด้วย ผังการไหลเวียนของมาตรฐานการ ปฏิบัติงานธุรการหอผู้ป่วย 7 ขั้นตอนที่เป็นลายลักษณ์ อักษรและง่ายต่อการปฏิบัติ หลังการทดลองใช้ พบว่า ผลการดำเนินงานดีกว่ารูปแบบปกติ คือ มีอัตราส่วนปริมาณ งานเฉลี่ยต่อแรงงานที่ใช้เพิ่มขึ้น อัตราความถูกต้องของ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น ระยะเวลาที่ใช้เฉลี่ย ลดลง และจำนวนแรงงานที่ใช้เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ <.001 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ธุรการหอผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ธุรการหอผู้ป่วย และพยาบาล วิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05
A development of ward clerk service at King Chulalongkorn Memorial Hospital.
Pipopsuttipaiboon, S., Torugsa, S., & Pichitchock, Y.
This research and development aimed to develop ward clerk services by using existing resources at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The sample of 44 persons who completed satisfaction questionnaire on the working of ward clerk including the head nurse, ward clerk and professional nurses in ICU unit at King Chulalongkorn Memorial Hospital was purposively selected. Research tools were the satisfaction questionnaire and working form record. Data were analyzed using descriptive statistics, the Mann-Whitney U test, and the Wilcoxon Signed Rank test.
The results showed that the model of developed ward clerk services composed of 7 steps including standard operating workflow which was easy to follow. The developed model was significantly better than the usual model according to an increase in the percentage of quantity performance, the percentage of correct working standards, a decrease in time and labor at p <.001, and an increase in satisfaction of ward clerks and professional nurses at p <.05.