ความสัมพันธ์ของปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในคลินิกเสริมความงาม กรณีศึกษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในคลินิกเสริมความงาม 2) เปรียบเทียบคุณภาพบริการ ตามการรับรู้ของผู้รับบริการในคลินิกเสริมความงามระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกันในด้านเพศ อาชีพ สถานภาพ สมรส สิทธิการรักษา การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากคำบอกเล่าและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา รายได้ จำนวนครั้งในการมารับบริการ การรับรู้คุณภาพบริการ ในอดีตกับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในคลินิกเสริมความงามในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการจำนวน 394 คน เลือกแบบสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ JACHO หาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.98 และค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการในคลินิกเสริมความงามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้รับบริการที่มีความแตกต่างกันในสิทธิ ในการรักษา การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากคำบอกเล่าและ จากโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ รับรู้คุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความ แตกต่างในผู้รับบริการที่มีเพศ อาชีพและสถานภาพสมรส แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการ โดยรวมตามการรับรูข้ องผูรั้บบริการอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = 0.142) จำนวน ครั้งในการมารับบริการ (r = -0.183) ส่วนอายุ และรายได้ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์
Relationships between selected factors and service quality as perceived by clients in beauty clinic: A case study in a private hospital.
Thongtawai, S., & Moolsart, S.
The objectives of this descriptive correlational design were 1) to study the service quality as perceived by clients in beauty clinic 2) to compare the service quality as perceived by clients in beauty clinic between the clients who differed in gender, occupation, marital status, reimbursement sources, and information receiving from verbal and mass-media advertising, and 3) to study the correlation between age, educational level, income, number of service usage, the perception of previous service quality, and service quality as perceived by clients in beauty clinic. The sample of 394 clients in beauty clinic at a private hospital was selected by systematic random sampling. Research tool was a questionnaire including the personal factors and the service quality based on JACHO. Its content validity index was 0.90 and the reliability coefficient was 0.98. Descriptive statistics, Pearson’s correlation, t-test, and one way ANOVA were used in data analysis.
The results were as follows. 1) Clients perceived service quality in beauty clinic at private hospital at the high level. 2) Clients who were different in reimbursement sources and information receiving from message being told, mass-media advertising, perceived service quality differently at p<.05. In contrast, the clients who were different in gender, occupation, and marital status perceived service quality indifferently. 3) The service quality was significantly related to education (r = 0.142), number of service usage (r =-0.183), but age and income were significantly unrelated to the service quality at p <.05.